วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ควาหมายของโซ่อุปทาน (The meaning of Supply Chain)

ที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่ค้างคาอยู่ในใจของผมมาโดยตลอดว่า  ยังไม่มีคำนิยามที่โดนใจหรือที่ฟันธงลงไปว่าโซ่อุปทาน คือ อะไร  หรือว่าจริงๆแล้วมันไม่มีโซ่อุปทานเลย เป็นเพียงแค่คำที่เราตั้งขึ้นมาเฉยๆเพื่อเรียกร้องความสนใจจากใครหลายคน   แต่ว่าโซ่อุปทานหรือ Supply Chain เองก็อยู่ในวงการนี้มานานพอสมควร  เกือบๆจะ 20 ปีได้แล้ว  และยังมีองค์กรทางวิชาขีพต่างๆได้เปลี่ยนชื่อมาใช้คำว่า Supply Chain อีกด้วย  ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว  ผมก็คิดว่าคงจะไม่ใช่เล่นๆแล้ว  โซ่อุปทานต้องมีตัวตนจริงๆ  เพียงแต่ว่าเราจะเข้าใจโซ่อุปทานกันมากน้อยแค่ไหน  ผมมองโซ่อุปทานออกเป็น 5 ระดับ

1) ระดับ โซ่คุณค่า (Value Chain)
2) ระดับ องค์กรขยายผล (Extened Enterprise)
3)  ระดับ กระบวนการในวิสาหกิจ (Enterprise Process)
4) ระดับฺ  กระบวนการธุรกิจ (Business Process)
5) ระดับ กระบวนการปฏิบัติการ (Operation Process)



1) ในระดับโซ่คณค่า  ผมจะมองโซ่อุปทานเป็นตำแหน่งของทรัพยากร  แหล่งวัตถุดิบ  แหล่งผลิตและตำแหน่งของตลาด   ผลิตภัณฑ์เดียวกันอาจจะใช้วัตถุดิบจากต่างสถานที่กัน  ใช้แหล่งที่ผลิตคนละแบบ  และตำแหน่งของตลาดที่แตกต่างกันออกไป  องค์ประกอบเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดโซ่อุปทาน  เช่น เป็นโต๊ะหรือเก้าอี้เหมือนกัน  มองในมุมโซ่คุณค่าแล้ว จะเกิดความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ของโต๊ะและเก้าอี้ที่เป็นไม้   และโต๊ะและเก้าอี้ที่เป็นพลาสติก  ถึงแม้ว่าจะมีคุณค่าเบื้องต้นเหมือนกัน

2) ในระดับองค์กรขยายผล  ผมจะมองโซ่อุปทานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายของการผลิตและการขนส่งลอจิสติกส์เพื่อที่องค์กรหรือบริษัทต่างๆจะได้ร่วมมือกัน (Collaboration) ในการสร้างคุณค่า (ผลิตสินค้าและบริการ) ร่วมกันในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

3) ในระดับของกระบวนการในวิสาหกิจ  ผมจะมองโซ่อุปทานเป็นเรื่องของการดำเนินงานในกระบวนการหลักขององค์กรหรือวิสาหกิจ เช่น  การวางแผน  การจัดหา  การผลิต  การจัดส่ง  ตามกระบวนการหลักของ SCOR 

4) ในระดับของกระบวนการธุรกิจ  ผมจะมองเป็นการดำเนินงานในกิจกรรมการจัดการกระบวนการธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะข้ามหน่วยงาน  มีการส่งผ่านข้อมูล   การแบ่งปันข้อมูลกันระหว่างกระบวนการธุรกิจต่างๆภายในกระบวนการของวิสาหกิจในระดับที่ 3

5) ในระดับของกระบวนการปฏิบัติการ ผมจะมองเป็นขั้นตอนต่างๆในการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานในการสร้างคุณค่าต่างๆในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าภายใต้กระบวนการธุรกิจต่างๆในระดับที่ 4

ระดับของโซ่อุปทานที่สูงกว่าจะกำหนดกิจกรรมของโซ่อุปทานที่ต่ำกว่า  ประเด็นสำคัญของความเป็นโซ่อุปทานในทุกระดับ คือ การเชื่อมโยงกัน   จุดที่เชื่อมโยงกันนั้นจำเป็นจะต้องมีมาตรฐานในการเชื่อมต่อกันเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน  วึ่งจะมีผลทำให้เกิดการบูรณาการกัน   และเมื่อการบูรณาการกันแล้ว   ผลที่ได้ก็ คือ คุณค่าใหม่ที่โซ่อุปทานสร้างขึ้นจากคุณค่าต่างๆที่ถูกนำบูรณาการกัน   ในขณะเดียวกันความเป็นโซ่อุปทานนั้นไม่ได้มีความหมายที่รวมกันในเชิงกายภาพหรือในเชิงการสร้างคุณค่าเท่านั้น  แต่ยังเป้นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจเดียวกันในกลุ่มผู้สร้างคุณค่าหรือสมาชิกในโซ่อุปทานเพื่อที่จะสามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงได้ทันกับสภาวะแวดล้อม

คือ เวลามองนั้น ต้องเห็นทั้ง 5 ระดับ โดยที่ทั้ง 5 ระดับนั้นมีความเชื่อมโยงจาก ระดับที่ 1 ไปสู่ระดับ ที่ 2-3-4-5 ตามลำดับครับ เราสามารถคุยและอ้างอิงถึง โซ่อุปทานได้ในทุกระดับ เพียงแต่ว่าเราต้องเข้าใจกันเองว่าเราคุยกันในระดับไหน ความจริงแล้ว องค์ประกอบทั้ง 5 ระดับนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย มีอยู่แล้วในกระบวนการสร้างคุณค่าที่ผ่านๆมา แต่โซ่อุปทานนั้นทำให้เรามองอย่างเป็นระบบ (System) และอย่างเป็นระบบของระบบ (Systems of System) มองอย่างเป้น network กัน มองอย่างมีความพร้อมในการเปี่ยนแปลงและยืดหยุ่น

***เป้า หมายของการที่ต้องมีคำว่า โซ่อุปทาน เพื่อให้คนที่อยู่ในโซ่อุปทานได้คิด และทำงานร่วมกัน วางแผนร่วมกัน ปรับปรุงร่วมกัน และได้ผลประโยชน์ร่วมกัน เหมือนกับคำว่านักดนตรีในวงดนตรีนั่นเอง พอจะไหวไหมครับ

***ใช่ ครับ มันเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ผมพยายามจะไม่บอกว่า มันไม่ได้ขัดแย้ง แต่อาจจะพูดว่ามันเป็นข้อจำกัด เพราะโดยธรรมชาติมัน Dynamic และปรับเปลี่ยนได้อยู่ สำหรับโซ่อุปทานครับ โซ่อุปทานนั้นมีชีวิตครับ มันมีทั้งความขัดแย้งและความลงตัว ถ้ามันได้ประโยชน์ล่ะก้อ มันจะลงตัว แต่ถ้าเสียประโยชน์ล่ะก้อ คราวนี้ก็แย้งกันหัวชนฝา ที่เหลือ คือ จะทำอย่างไรให้เกิดความลงตัวตามสถานการณ์ เป็นผลประโยชน์ร่วมกันครับ

ส่วนอื่นที่ไม่ใช่โซ่อุปทานเป็นสิ่งของที่เราสร้างขึ้นมา engineering ส่วนมากจะลงตัวในตอนออกแบบ (design) แต่ก็มีข้อจำกัดในตอนนำไปใช้งานภายใต้บริบทในตอนออกแบบ นกเหนือจากนี้แล้ว ก็จะไม่ Work เพราะระบบที่เราสร้างขึ้นมานั้น คิดเองไม่ได้ ปรับตัวเองไม่ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม โซ่อุปทานที่มีคนเยอะ มีคนที่คิดเองได้ แต่พอมีกันหลายคน ผลประโยชน์ไม่ลงตัว ก้เลยคิดขัดแย้งกันครับ