วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชุม 6 สถาบัน -- 6.รัฐบาลในมุมมองของโซ่อุปทาน (จบ)

รัฐบาลในมุมมองของโซ่อุปทาน หลายคนมีมุมมองเรื่องการจัดการโซ่อุปทานว่าคงเป็นแค่แฟชั่น  เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วเวลาผ่านไปก็คงจะหายไปเหมือนเทคนิคการจัดการอื่นๆที่ผ่านมา   แต่โซ่อุปทานนั้นคงไม่เหมือนกับเทคนิคการจัดการทั่วไป   ในอนาคตชื่ออาจจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น   แต่หลักคิดของความเป็นโซ่อุปทานนั้นยังคงอยู่และได้รับการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องเพียงแต่เราไม่รู้และยังไม่เข้าใจในหลักคิดของการจัดการโซ่อุปทานอย่างลึกซึ้ง   ถ้าจะคิดว่าโซ่อุปทานนั้นเป็นของจริงมากกว่าเทคนิคการจัดการอื่นๆ...

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โซ่อุปทานหนังสือคืออะไร การจัดการโซ่อุปทานหนังสือจะเริ่มอย่างไร

ดร.วิทยา สุหฤทดำรง วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง  และ อี ไอ สแควร์ สำนักพิมพ์ หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า Demand และ Supply และเข้าใจกันอยู่บ้างแล้วว่าหมายถึงอุปสงค์และอุปทาน ตามลำดับ  และแม้ว่าหลายคนก็ได้ยินคำว่า Supply Chain หรือ โซ่อุปทาน มากขึ้นๆ  ผมยังเชื่อว่าคงมีคำถามอยู่ว่าคืออะไรกัน... โซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ เครือข่ายของหุ้นส่วนธุรกิจ ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงผู้บริโภค และรวมการผลิต...

ประชุม 6 สถาบันฯ -- 5.สร้างยุทธศาสตร์ชาติด้วยการคิดอย่างโซ่อุปทานและลอจิสติกส์

สร้างยุทธศาสตร์ชาติด้วยการคิดอย่างโซ่อุปทานและลอจิสติกส์ จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในบริบทของสังคมโลกจึงทำให้มีความเป็นพลวัตหรือมีความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและสังคมอยู่ตลอดเวลา แนวคิดของการจัดการโซ่อุปทานและลอจิสติกส์ก็ได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นลำดับ และได้รับความสนใจในระดับนโยบายระดับชาติ แต่ละหน่วยงานในระดับกระทรวงหรือ กรมต่างๆ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ศึกษาและหาข้อมูลต่างๆ  เพื่อที่จะกำหนดแนวทางและนโยบายด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทานในระดับชาติเพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ในระดับชาติ คุณค่าของความเป็นชาติ  ...

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชุม 6 สถาบันฯ -- 4.บูรณาการยุทธศาสตร์ในทุกภาคส่วน (2) : ยุทธศาสตร์

บูรณาการยุทธศาสตร์ในทุกภาคส่วน (2) : ยุทธศาสตร์       จากมุมมองและความเข้าใจเบื้องต้นในการบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติหรือยุทธศาสตร์ในด้านอื่นๆที่รองรับยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นเสมือนแผนแม่บท    จากผลการดำเนินงานด้วยยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว   เรามักจะพบว่าผลการดำเนินงานจากการนำยุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง   หรือไม่มีประสิทธิภาพบ้าง  ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการบูรณาการยุทธศาสตร์ชาติทั้งจากบนลงล่าง  การวัดผลการนำไปปฏิบัติจากล่างขึ้นบนและระหว่างองค์ประกอบต่างๆ...

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชุม 6 สถาบันฯ -- 3.บูรณาการยุทธศาสตร์ชาติในทุกภาคส่วน (1) : แนวคิด

บูรณาการยุทธศาสตร์ชาติในทุกภาคส่วน (1) : แนวคิด มีหลายคนมักจะตั้งคำถามถึงแผนยุทธศาสตร์หลักหรือแผนแม่บทของประเทศว่าที่จริงแล้วคืออะไรกัน  พูดกันง่ายๆ ว่ายุทธศาสตร์หลักหรือแผนแม่บทของประเทศ คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาตินั่นเองซึ่งเป็นแผนหลักของประเทศที่ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมในทุกภาคส่วน  หรือจะมองในอีกมุมมองหนึ่ง  ยุทธศาสตร์หลักหรือแผนหลักของประเทศ คือ แผนของสภาความมั่นคงแห่งชาติ  ซึ่งมองครอบคลุมไปถึงความมั่นคงแห่งชาติในทุกรูปแบบ  และยังมีแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ อีกมากมายในหน่วยงานต่างๆ ในทุกภาคส่วน   แล้วแผนยุทธศาสตร์เหล่านี้จะมาบูรณาการเป็นยุทธศาสตร์ชาติได้ตามที่ควรจะเป็นหรือไม่?...

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชุม 6 สถาบันฯ -- 2.มุมมองและความเข้าใจกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ วปอ.

มุมมองและความเข้าใจกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ วปอ. กระบวนการการจัดทำยุทธศาสตร์ชาตินั้นเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมากพอสมควร  เพราะเป็นเรื่องระดับชาติ  ที่มีผลต่อความเป็นไปและการดำรงชีวิตของคนจำนวนมากในชาติ   รูปแบบของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ วปอ. มีความเป็นสากล (Universal) ในมุมมองของกระบวนการจัดทำ    แต่จะแตกต่างกันก็ตรงคำที่ใช้ในการอธิบายในบริบทต่างๆ ของการนำไปใช้ปฏิบัติใช้งาน (Implementation)      ในมุมมองของการจัดการโดยทั่วไป  ยุทธศาสตร์มีอยู่ 3 องค์ประกอบ  ซึ่งเราจะคำนึงถึงสถานะอนาคต...

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

เจาะแก่นแนวคิดแบบลีน (8) : ลีนในมุมมองจากองค์กรที่ซับซ้อน

ความหมายที่แท้จริงของลีนยังเป็นที่ถกเถียงกันไม่จบสิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่จะนำคำว่าลีนไปใช้ในการสื่อสาร มีผู้ตีความและให้ความหมายของลีนไว้ในหลายมุมองและหลายระดับ บางคนอาจไม่ได้สนใจในความหมายของลีนที่ได้ถูกพัฒนาและขยายสู่ความหมายในระดับนามธรรม (Abstract) ที่สูงขึ้น ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายบริบท (Context) ของกระบวนการสร้างคุณค่า ความหมายของลีนมิใช่เป็นแค่เรื่องราวของการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรหรือลดความสูญเปล่าเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่หลายคนเข้าใจ แต่ลีนได้กลายเป็นกระบวนการคิด (Thinking Process) หรือวิธีการมองเข้าไปในระบบหรือกระบวนการสร้างคุณค่า...