วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Misc – จะดูอย่างไรว่าเป็นลอจิสติกส์

ผมเคยได้ยินนักศึกษาที่เรียนลอจิสติกส์พูดกันว่า กิจกรรมลอจิสติกส์นั้นมี 13 กิจกรรม ดังนี้1. การติดต่อสื่อสารด้านลอจิสติกส์ (Logistics Communications)2. การบริการลูกค้า (Customer Service) 3. กระบวนการสั่งซื้อ (Order processing) 4. การคาดการณ์ความต้องการ (Demand forecasting) 5. การจัดซื้อ (Procurement) 6. การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)7. การบริหารการขนส่ง (Transportation Management) 8. การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing และ Storage)9. ลอจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) 10. การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Parts และ...

Misc – ต้องก้าวข้ามผ่านลอจิสติกส์ไปให้ได้

ถึงวันนี้ ผมพบว่า พวกเรายังไม่ได้รู้จักลอจิสติกส์ดีเท่าไหร่นัก แถมยังหมกหมุ่นกับลอจิสติกส์มากจนเกินไป จนไม่รับเอาแนวคิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับลอจิสติกส์ ทำให้เกิดมุมมองต่อกระบวนการสร้างคุณค่าผิดไป หรือพูดแรงๆ ว่า นับถือลอจิสติกส์เป็นพระเจ้าไปแล้ว คิดว่า ลอจิสติกส์คือคำตอบสุดท้าย แต่ก็ต้องยอมรับว่า ลอจิสติกส์มาแรงตั้งนานแล้ว แรงไปทั่วโลกจริงๆ แต่ว่าเราก็จะต้องไปต่อ ศึกษาต่อไป พัฒนาความคิดต่อไป ข้างหน้าเรามีอะไรให้ศึกษาอีกมากมาย ลอจิสติกส์ก็เป็นแค่ทางผ่านและพื้นฐาน...

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Perspectives 15. เมื่อโซ่อุปทานขาดสะบั้นลง ธุรกิจและชีวิตก็คงจะหยุดนื่ง

ผมได้อ่านนิตยสาร Fortune ฉบับวันที่ 26 December 2011 มีคอลัมน์หนึ่งเขียนโดย Bill Powell ได้เสนอรายงานที่เกี่ยวกับภัยพิบัติน้ำท่วมในประเทศไทยโดยมีรูปรถยนต์ Honda ลอยน้ำอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ที่ใต้รูปเขียนว่า “Logistics” แต่ชื่อบทความกลับเป็น “When Supply Chain Break (เมื่อโซ่อุปทานขาดสะบั้นลง)” แล้วก็มีคำโปรยว่า “Manufacturers have spent years buildings low-cost global supply chains. Natural disasters are showing them just how fragile those networks...

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Perspectives – 14 นิยามอนาคตใหม่ สร้างยุทธศาสตร์ใหม่ ด้วยแนวคิดเชิงองค์รวมและปัญหาพยศ

ผมเห็นความกระตือรือร้นของหลายภาคส่วนทั้งก่อนน้ำท่วมและหลังน้ำลดแล้ว ที่เห็นๆ พูดกันมากๆ ก็คือ เรื่องของยุทธศาสตร์ ระยะหลังๆ ผมมีโอกาสในการเข้ารับการศึกษาเรื่องยุทธศาสตร์มาพอสมควรและมีโอกาสศึกษาเพิ่มเติมมาบ้าง ทำให้ผมได้มองเห็นว่า ประเทศเราขาดยุทธศาสตร์ที่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยเราไม่มียุทธศาสตร์ ประเทศเรามียุทธศาสตร์หลายยุทธศาสตร์ ไม่เชื่อลองไปทุกจังหวัดสิครับ แต่ละจังหวัดเขาจะมีเอกสารประชาสัมพันธ์ของจังหวัดต่างๆ ซึ่งจะมีรายละเอียดของยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัดอยู่ และนี่ยังไม่ได้รวมหน่วยงานราชการทั้งหลายจะต้องมียุทธศาสตร์เช่นกันหรือไม่ก็ต้องมีไว้รองรับ...

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Misc - มุมมองของผมในเรื่องต้นทุนลอจิสติกส์

ผมฟังอาจารย์รุทธิ์ พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ Intelligence ใน Voice TV เมื่อคืนวันที่ 5 ธ.ค. 54 แล้ว มันส์ดีครับ สะใจมากๆ แต่ก็รู้สึกรำคาญจริงๆ ครับ ไม่ได้รำคาญอาจารย์รุทธิ์นะครับ อาจารย์ท่านมีแนวคิดมาทางเดียวกับผมอยู่แล้ว ผมว่าอาจารย์น่าจะรู้สึกเหมือนผมหรือเปล่าก็ไม่รู้ ผมรำคาญตรงคำถามต่างๆ มากกว่า แต่ก็โทษพิธีกรไม่ได้หรอกครับ เมื่อสังคมเรามีคำถามที่เกี่ยวกับลอจิสติกส์กันได้แค่นี้ มันก็คงจะเป็นวุฒิภาวะทางความคิดของสังคมที่มีต่อประเด็นการจัดการลอจิสติกส์ แล้วผมก็รำคาญตรงเรื่องต้นทุนลอจิสติกส์ ผมว่าคำถามต่างๆ ของสังคมเราไม่ได้ไปถึงไหนเท่าไหร่ เรารู้ต้นทุนลอจิสติกส์ของประเทศแล้วจะต้องทำอย่างไรต่อดี...

มุมมองความคิดในการจัดการด้วยแนวคิดแบบลีน (1)

ทุกอย่างเริ่มที่มนุษย์เราครับ ลีนเริ่มที่เราและจบที่เรา ทุกครั้งที่ได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่องลีนหรือเรื่องอะไรตาม ผมต้องมาคิดดูอีกครั้งว่า เราเข้าใจสิ่งเหล่านั้นได้ลึกซึ้งขึ้นหรือไม่ หรือว่าความเข้าใจในภาพรวมของสังคมหรือวงการสำหรับเรื่องของลีนแล้ว มันเป็นมากกว่าการลดของเสีย ซึ่งที่จริงแล้ว เรื่องของลีนนั้นไม่ใช่แค่ของเสีย(Defect) แต่เป็นความสูญเปล่า (Waste) มากกว่า ของหรือสินค้าที่ไม่ได้เป็นของเสียก็สามารถเป็นความสูญเปล่าได้ เพราะว่าลูกค้าไม่ต้องการ มิติเริ่มแรกของลีนอาจจะเริ่มที่ของเสียที่เป็นความสูญเปล่า แต่เมื่อมองในแง่ของการจัดการ ถ้าเรามองแค่การลดความสูญเปล่าแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้...

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Perspectives – 13. อุบัติการณ์แห่งรักและเกลียด -- นามธรรมขององค์รวม

ผมหายหน้าไปนานครับจาก Perspective 12 จนมาถึงบทความนี้ ที่จริงนั้นผมไปต่างจังหวัดมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว 25-27 พ.ย. 54 ผมไปงานแต่งงานที่จังหวัดพิษณุโลกมา แล้วก็เลยไปเที่ยวที่แม่สอด จ.ตากต่อด้วย ผมใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 3วัน แน่นอนครับไปงานแต่งงานบรรยากาศต้องอบอวลไปด้วยความรัก (Love) แล้วใครจะไปรู้ว่าที่ผมหายไปประมาณ 10 วันจนนักศึกษา MBA ที่มหาวิทยาลัยนเรศวรสงสัยว่าผมหายไปไหน ใครจะรู้ว่าผมอาจจะเต็มอิ่มไปด้วยความรักก็ได้ แต่ที่แน่ๆ นั้นประเด็นสำหรับบทความนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรัก แต่ผมก็ลังเลใจอยู่อยู่หลายวันว่าจะเขียนในลักษณะใดดี ผมพยายามทำวิจัยค้นคว้าหาคำนิยาม...

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Perspectives – 12. รื้อกระสอบทราย บิ๊กแบค เปิดประตูน้ำ และภัยพิบัติที่ไม่ใช่แค่ภัยธรรมชาติ คือ ปัญหาพยศ (Wicked Problems)

ถึงแม้ว่าเราจะมีข่าวดีจากการที่เราสามารถควบคุมน้ำได้ในบางส่วนที่ไม่ให้รุกคืบเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นใน แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัญหาอื่นๆ เกิดขึ้นตามมาเป็นระลอกโดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชุมชนที่อยู่คนละด้านของคันกั้นน้ำ การจับกลุ่มปิดถนน ต่อรองกับทางการ เพื่อเปิดประตูน้ำ รื้อกระสอบทรายบิ๊กแบค ความขัดแย้งได้ขยายผลออกไปตามพื้นที่ซึ่งเกิดความแตกต่างกันระหว่างน้ำท่วมกับน้ำแห้ง ดูเหมือนกับเป็นความเลื่อมล้ำในสังคม แต่ผมก็คิดว่าปัญหาเหล่านี้ก็คงจะถูกทำให้หมดไปในชั่วขณะนี้ได้ แต่ไม่ได้บอกว่าจะหมดไปเลย ละแล้วทุกอย่างก็อาจจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกในปีหน้าหรือไม่...

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Perspectives - 11. ปัญหาชาติ ปัญหาสังคม อย่ามักง่าย คิดง่ายๆ จนกลายเป็นเรื่องที่ยาก

เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนอยากสบาย ทำอะไรได้อย่างง่ายๆ คือ อะไรก็ได้ที่ออกแรงน้อยๆ ลงทุนน้อย ได้สิ่งต่างๆ มาอย่างสะดวกสบาย แต่ในความเป็นจริงของชีวิต เราก็รู้อยู่แล้วว่า ไม่มีอะไรได้มาโดยง่ายๆ หรอกครับ มันต้องออกแรงคิด ลงแรงและลงทุน ถามผู้ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ ได้เลยครับ ผมบังเอิญไปจัดหนังสือที่ชั้นหนังสือ ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับการจัดการ เขียนชื่อที่ปกไว้ว่า “ถึงจะง่าย แต่ก็ได้ผล” ผมเห็นแล้วมันขัดตาอย่างไรก็ไม่รู้ เท่าที่จำได้ว่าเคยเขียนถึงเรื่องอย่างนี้มาแล้วมั้ง แต่ก็จำไม่ได้ว่าเมื่อไรและที่ไหน เพราะผมเชื่อว่าในโลกนี้มีทั้งอะไรๆ...

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Perspectives – 10. ถึงเวลาแล้วหรือยังสำหรับการมียุทธศาสตร์ชาติที่แท้จริง

เห็นข่าวใน TV ที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการ 2คณะเพื่อหาทางในการแก้ไขและเยียวยาและฟื้นฟูประเทศ ผมได้ยินคำว่ายุทธศาสตร์แล้วรู้สึกเอียนเป็นอย่างยิ่ง ดูไปดูมาแล้วไม่อะไรจะทำหรือไม่มีอะไรจะคิดแล้วหรือ? ว่าแล้วก็ใช้คำยุทธศาสต์ก็แล้วกัน ดูขลังดี ผมก็เห็นใช้คำนี้กันในทุกๆ หน่วยงาน ทุกจังหวัด ดูแล้วก็เท่ห์ดี ดูแล้วก็มีความหวังในชีวิต มีความหวังในประเทศของเรา แต่ผมดูแล้วสิ้นหวังกันจริงๆ ผมคิดว่าทำไปแล้วมันเปล่าประโยชน์จริงๆ เปลืองกระดาษ เปลืองเวลา เปลืองงบประมาณ มียุทธศาสตร์หรือไม่มียุทธศาสตร์แล้ว พวกเราจะทำงานได้ดีกว่านี้หรือแตกต่างกันหรือไม่? แม้แต่ในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ก็ดูข่าวใน...

Perspectives – 9. ความรู้ คือ อำนาจ แล้วเรามีความรู้อะไรบ้างจากภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งนี้

จากเหตุการณ์โต้แย้งกันในเรื่องของการใช้ลูกบอล EM ในการบำบัดน้ำเสีย ทำให้ผมรู้สึกว่าสังคมไทยเราต้องใช้ความรู้วิชาการในการดำเนินงานและในการดำรงชีวิตมากขึ้นกว่านี้ บางครั้งเราก็เชื่ออะไรๆ ง่ายไปหรือเปล่า? เราต้องใช้การทดลองและใช้ความเป็นวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้นหรือไม่? มีคำถามอยู่บ่อยครั้งว่า เราได้เรียนรู้หรือมี Lesson Learned จากเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างไรบ้าง? กระบวนการการจัดการความรู้ของเรานั้นสามารถนำมาใช้อธิบายหรือวิเคราะห์อะไรได้บ้างหรือไม่ผมหวังว่าสังคมเราคงจะไม่ได้แค่รับรู้เรื่องราวและจดจำไว้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ในรอบ 50ปี แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรสำหรับอนาคตเล่า?...

Perspectives – 8. โซ่อุปทานเมือง โซ่อุปทานชีวิต

วันนี้ผมไม่ได้ทำงาน ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ได้ทำงานมาหลายวันแล้ว รัฐบาลก็ไม่ได้มีการประกาศหยุดราชการเพิ่มอีก ธุรกิจที่ยังดำเนินการได้ก็เปิดดำเนินการไป ชีวิตคนทำงานที่ยังต้องทำงานก็ทำงานไป ทั้งๆ ที่สถานการณ์ก็วิกฤตเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ แต่รัฐก็ต้องพยายามทำให้เห็นว่ายังมีคนทำงานอยู่ในหน่วยงานราชการอยู่เพื่อที่จะบริการประชาชน และต้องทำให้เห็นว่ากรุงเทพฯ ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ทำงานได้ ทำธุรกิจได้ ก็คงต้องทำให้เป็นอย่างนั้น อย่างน้อยก็มีคนทำงานทำธุรกิจเท่าที่ทำได้ แต่ในความรู้สึกของผมก็ คือ กรุงเทพฯ นั้นกำลังจะล่มแล้ว อาการอยู่ในขั้นโคม่า ที่กรุงเทพฯ...

Perspectives – 7. การบูรณาการ (2) ต้องมองเชิงระบบ (Systems Thinking)

ผมได้ยินผู้ใหญ่ในบ้านเมืองพูดเรื่องการบูรณาการกันเยอะมากๆ จนเอียนเสียแล้วเพราะว่าไม่รู้ ที่จริงแล้วการบูรณาการ คือ อะไรกันแน่ ผมเองก็มีความเข้าใจในมุมมองของผม อย่าเชื่อนะครับ! ในมุมของผมนั้น การบูรณาการนั้นไม่ใช่เอาของหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง หลายๆ คนมารวมกัน แล้วก็เฮโลกันไป นั่นเป็นแค่การร่วมกลุ่มเท่านั้น เมื่อมองไปรอบๆตัวเราในประเทศเรานั้น เรามีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายซึ่งค่อนข้างจะครบครันในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการดำรงชีวิตอยู่และเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้กับสังคม (ประเด็นนี้ไม่รู้ว่าจะมีครบหรือไม่) แค่เอาหลายสิ่งหลายอย่างๆ มารวมกันก็กลายเป็นพลังที่สำคัญ...

Perspectives – 6. ความเสี่ยงกับไม่ความแน่นอนที่จะเสียหายหรือล้มเหลว

เหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งนี้ เราทุกคนคงจะไม่เคยคาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ หรือว่ามีโอกาสเกิดขึ้น (Probability) ได้น้อยมาก แต่มันก็เกิดขึ้นจนได้ มันเป็นความไม่แน่นอน (Uncertainty) เพราะว่ามีอยู่สองทางเลือก คือ เกิดขึ้นและไม่เกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่แน่นอนว่า ทุกคนต้องตาย แต่จะเมื่อไหร่เล่า เพราะว่าถ้ามันเป็นเรื่องแน่นอนว่าน้ำไม่ท่วม มันก็คงจะไม่เกิดขึ้น แต่ความไม่แน่นอนนี้เป็นธรรมชาติ นั่นแสดงว่าจะมีน้ำท่วมและน้ำไม่ท่วม แล้วแต่ว่าเหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาไหน เราก็ยังไม่รู้แน่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ระดับของความไม่แน่นอนนี้ (Measurement of...