วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Perspectives – 12. รื้อกระสอบทราย บิ๊กแบค เปิดประตูน้ำ และภัยพิบัติที่ไม่ใช่แค่ภัยธรรมชาติ คือ ปัญหาพยศ (Wicked Problems)

ถึงแม้ว่าเราจะมีข่าวดีจากการที่เราสามารถควบคุมน้ำได้ในบางส่วนที่ไม่ให้รุกคืบเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นใน แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัญหาอื่นๆ เกิดขึ้นตามมาเป็นระลอกโดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชุมชนที่อยู่คนละด้านของคันกั้นน้ำ การจับกลุ่มปิดถนน ต่อรองกับทางการ เพื่อเปิดประตูน้ำ รื้อกระสอบทรายบิ๊กแบค ความขัดแย้งได้ขยายผลออกไปตามพื้นที่ซึ่งเกิดความแตกต่างกันระหว่างน้ำท่วมกับน้ำแห้ง ดูเหมือนกับเป็นความเลื่อมล้ำในสังคม แต่ผมก็คิดว่าปัญหาเหล่านี้ก็คงจะถูกทำให้หมดไปในชั่วขณะนี้ได้ แต่ไม่ได้บอกว่าจะหมดไปเลย ละแล้วทุกอย่างก็อาจจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกในปีหน้าหรือไม่...

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Perspectives - 11. ปัญหาชาติ ปัญหาสังคม อย่ามักง่าย คิดง่ายๆ จนกลายเป็นเรื่องที่ยาก

เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนอยากสบาย ทำอะไรได้อย่างง่ายๆ คือ อะไรก็ได้ที่ออกแรงน้อยๆ ลงทุนน้อย ได้สิ่งต่างๆ มาอย่างสะดวกสบาย แต่ในความเป็นจริงของชีวิต เราก็รู้อยู่แล้วว่า ไม่มีอะไรได้มาโดยง่ายๆ หรอกครับ มันต้องออกแรงคิด ลงแรงและลงทุน ถามผู้ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ ได้เลยครับ ผมบังเอิญไปจัดหนังสือที่ชั้นหนังสือ ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับการจัดการ เขียนชื่อที่ปกไว้ว่า “ถึงจะง่าย แต่ก็ได้ผล” ผมเห็นแล้วมันขัดตาอย่างไรก็ไม่รู้ เท่าที่จำได้ว่าเคยเขียนถึงเรื่องอย่างนี้มาแล้วมั้ง แต่ก็จำไม่ได้ว่าเมื่อไรและที่ไหน เพราะผมเชื่อว่าในโลกนี้มีทั้งอะไรๆ...

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Perspectives – 10. ถึงเวลาแล้วหรือยังสำหรับการมียุทธศาสตร์ชาติที่แท้จริง

เห็นข่าวใน TV ที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการ 2คณะเพื่อหาทางในการแก้ไขและเยียวยาและฟื้นฟูประเทศ ผมได้ยินคำว่ายุทธศาสตร์แล้วรู้สึกเอียนเป็นอย่างยิ่ง ดูไปดูมาแล้วไม่อะไรจะทำหรือไม่มีอะไรจะคิดแล้วหรือ? ว่าแล้วก็ใช้คำยุทธศาสต์ก็แล้วกัน ดูขลังดี ผมก็เห็นใช้คำนี้กันในทุกๆ หน่วยงาน ทุกจังหวัด ดูแล้วก็เท่ห์ดี ดูแล้วก็มีความหวังในชีวิต มีความหวังในประเทศของเรา แต่ผมดูแล้วสิ้นหวังกันจริงๆ ผมคิดว่าทำไปแล้วมันเปล่าประโยชน์จริงๆ เปลืองกระดาษ เปลืองเวลา เปลืองงบประมาณ มียุทธศาสตร์หรือไม่มียุทธศาสตร์แล้ว พวกเราจะทำงานได้ดีกว่านี้หรือแตกต่างกันหรือไม่? แม้แต่ในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ก็ดูข่าวใน...

Perspectives – 9. ความรู้ คือ อำนาจ แล้วเรามีความรู้อะไรบ้างจากภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งนี้

จากเหตุการณ์โต้แย้งกันในเรื่องของการใช้ลูกบอล EM ในการบำบัดน้ำเสีย ทำให้ผมรู้สึกว่าสังคมไทยเราต้องใช้ความรู้วิชาการในการดำเนินงานและในการดำรงชีวิตมากขึ้นกว่านี้ บางครั้งเราก็เชื่ออะไรๆ ง่ายไปหรือเปล่า? เราต้องใช้การทดลองและใช้ความเป็นวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้นหรือไม่? มีคำถามอยู่บ่อยครั้งว่า เราได้เรียนรู้หรือมี Lesson Learned จากเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างไรบ้าง? กระบวนการการจัดการความรู้ของเรานั้นสามารถนำมาใช้อธิบายหรือวิเคราะห์อะไรได้บ้างหรือไม่ผมหวังว่าสังคมเราคงจะไม่ได้แค่รับรู้เรื่องราวและจดจำไว้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ในรอบ 50ปี แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรสำหรับอนาคตเล่า?...

Perspectives – 8. โซ่อุปทานเมือง โซ่อุปทานชีวิต

วันนี้ผมไม่ได้ทำงาน ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ได้ทำงานมาหลายวันแล้ว รัฐบาลก็ไม่ได้มีการประกาศหยุดราชการเพิ่มอีก ธุรกิจที่ยังดำเนินการได้ก็เปิดดำเนินการไป ชีวิตคนทำงานที่ยังต้องทำงานก็ทำงานไป ทั้งๆ ที่สถานการณ์ก็วิกฤตเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ แต่รัฐก็ต้องพยายามทำให้เห็นว่ายังมีคนทำงานอยู่ในหน่วยงานราชการอยู่เพื่อที่จะบริการประชาชน และต้องทำให้เห็นว่ากรุงเทพฯ ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ทำงานได้ ทำธุรกิจได้ ก็คงต้องทำให้เป็นอย่างนั้น อย่างน้อยก็มีคนทำงานทำธุรกิจเท่าที่ทำได้ แต่ในความรู้สึกของผมก็ คือ กรุงเทพฯ นั้นกำลังจะล่มแล้ว อาการอยู่ในขั้นโคม่า ที่กรุงเทพฯ...

Perspectives – 7. การบูรณาการ (2) ต้องมองเชิงระบบ (Systems Thinking)

ผมได้ยินผู้ใหญ่ในบ้านเมืองพูดเรื่องการบูรณาการกันเยอะมากๆ จนเอียนเสียแล้วเพราะว่าไม่รู้ ที่จริงแล้วการบูรณาการ คือ อะไรกันแน่ ผมเองก็มีความเข้าใจในมุมมองของผม อย่าเชื่อนะครับ! ในมุมของผมนั้น การบูรณาการนั้นไม่ใช่เอาของหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง หลายๆ คนมารวมกัน แล้วก็เฮโลกันไป นั่นเป็นแค่การร่วมกลุ่มเท่านั้น เมื่อมองไปรอบๆตัวเราในประเทศเรานั้น เรามีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายซึ่งค่อนข้างจะครบครันในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการดำรงชีวิตอยู่และเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้กับสังคม (ประเด็นนี้ไม่รู้ว่าจะมีครบหรือไม่) แค่เอาหลายสิ่งหลายอย่างๆ มารวมกันก็กลายเป็นพลังที่สำคัญ...

Perspectives – 6. ความเสี่ยงกับไม่ความแน่นอนที่จะเสียหายหรือล้มเหลว

เหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งนี้ เราทุกคนคงจะไม่เคยคาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ หรือว่ามีโอกาสเกิดขึ้น (Probability) ได้น้อยมาก แต่มันก็เกิดขึ้นจนได้ มันเป็นความไม่แน่นอน (Uncertainty) เพราะว่ามีอยู่สองทางเลือก คือ เกิดขึ้นและไม่เกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่แน่นอนว่า ทุกคนต้องตาย แต่จะเมื่อไหร่เล่า เพราะว่าถ้ามันเป็นเรื่องแน่นอนว่าน้ำไม่ท่วม มันก็คงจะไม่เกิดขึ้น แต่ความไม่แน่นอนนี้เป็นธรรมชาติ นั่นแสดงว่าจะมีน้ำท่วมและน้ำไม่ท่วม แล้วแต่ว่าเหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาไหน เราก็ยังไม่รู้แน่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ระดับของความไม่แน่นอนนี้ (Measurement of...

Perspectives – 5. การหยุดชะงักหรือการขาดตอนของโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption)

ถ้าโซ่อุปทานเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์คุณค่าในรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้กับมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีชีวิตแล้ว ถ้ามันขาดตอนไปหรือหยุดชะงักในการสร้างคุณค่าเหล่านั้นไป มนุษย์ก็คงจะลำบากในการดำรงชีวิต ผมบรรยายเรื่องโซ่อุปทานมานานนับสิบกว่าปี อาจจะเป็นเพราะผมอาจจะไม่ค่อยจะมีฝีมือในการสื่อสารหรือนำเสนอเท่าไหร่ จึงทำให้ความเข้าใจในเรื่องโซ่อุปทานและลอจิสติกส์สำหรับเมืองไทยยังมีไม่มากนัก ที่จริงแล้วผมว่าพวกเราเองไม่ค่อยสนใจอะไรกันมากเท่าไรนัก เพราะสังคมพูดกันน้อย ผู้ใหญ่พูดกันน้อย คนในวงการธุรกิจไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญเท่าไหร่ จึงไม่ค่อยสนใจจะสื่อสารออกไป และเราก็เรียนรู้กันน้อย...

Perspectives – 4. ภาพชีวิต–2 (ของหมา)

หลังจากดูข่าวน้ำท่วมทุกวันจากเช้า-เย็น-ดึกจนได้เห็นภาพชีวิตจนออกมาเป็น Perspectives – 2.ภาพชีวิต ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตของคนไทยในระดับรากหญ้าที่ต้องผจญการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จนไม่มีที่จะไปและต้องทนทุกข์อยู่น้ำที่ไม่ได้ไปไหนเหมือนกัน ก็ไม่รู้ว่าเมืองไทยยังน่าอยู่อีกหรือไม่ เราต้องคิดกันใหม่แล้วล่ะ ในขณะที่สื่อ TVต่างๆ พยายามนำเสนอภาพชีวิตต่างๆ ของคนในสถานที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ถูกน้ำท่วม เราไม่ได้เห็นชีวิตของผู้คนเท่านั้น แต่เราได้เห็นชีวิตของสัตว์เลี้ยงที่คนนำมันมาเลี้ยงเป็นเพื่อน โดยเฉพาะหมาและแมว แต่เท่าที่เห็นมา หมานั้นเยอะกว่า...

Perspectives – 3. การบูรณาการ

เห็นต่างคน ต่างออกมาให้ความเห็นในเชิงวิชาการมากมาย แล้วเราจะวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างไรกันดีเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมและการวางแผน ถึงแม้ว่าจะรอน้ำมาเป็นเวลานานแล้ว วันนี้วันพฤหัสที่ 3 พ.ย. 54 ผมมีงานบรรยายที่โรงแรมแถวถนนรัชดา ซึ่งอยู่ไม่ห่างเมเจอร์รัชโยธินมากนัก เช้าวันนี้ เมเจอร์รัชโยธินก็ได้ปิดทำการแล้ว ในโรงแรมนั้นไม่มีการจัดงานสัมมนาใดๆ เลยยกเว้นงานที่มผมไปบรรยายเท่านั้น น่าชื่นชมทั้งคนจัดและคนที่มาร่วมฟังสัมมนาในครั้งนี้เราก็เห็นประเด็นของปัญหาที่เกิดขึ้นในภัยพิบัติครั้งนี้มามากมายหลายประเด็น จากภัยธรรมชาติวันนี้ได้กลายมาเป็นภัยที่ไม่เป็นธรรมชาติเสียแล้ว...

Perspectives – 2.ภาพชีวิต (Reflection of Lifes)

ทุกวันผมนั่งดูข่าวน้ำท่วมตั้งแต่เช้าตื่นนอนยันดึกก่อนเข้านอน เขาว่ากันว่า ดูมากๆ แล้วเครียดเปล่าๆ ก็จริงครับ ผมไม่รู้ว่าจะตัดสินใจอย่างไรดี น้ำจะมาเมื่อไหร่ นั่นแหละครับความไม่แน่นอนที่เป็นธรรมชาติที่แท้ๆ เรามนุษย์พยายามที่จะจัดการกับความไม่แน่นอนทั้งหลาย ผมดูข่าวทุกวัน ดูแล้วเหมือนดูละครโรงใหญ่ที่เปิดเผยให้เห็นชีวิตจริงๆ ของคนไทยส่วนใหญ่ที่ลำบากมากๆ เหมือนดูรายการ คนค้นคนเลย โดยมีคุณน้ำเป็นคนต้นเรื่อง ไล่มาเลยจากจังหวัดทางเหนือลงมาทางใต้จนถึงกรุงเทพฯ คิดไปแล้ว ถึงไม่มีน้ำท่วมมา พวกเขาก็อาจจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากอยู่แล้ว แต่เรานั้นอาจจะมองไม่เห็น...

Perspectives – 1. ความน่าเชื่อถือของเรา (ประเทศไทย)

จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ นอกจากประเทศไทยจะจมน้ำที่ท่วมแล้ว เราก็ยังจมกับทะเลของข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่รู้ว่าผู้ฟังจะไปตัดสินใจกันอย่างไรดี ไม่รู้ว่าจริงมากน้อยขนาดไหน ความน่าเชื่อถือของ ศปภ. และภาครัฐได้ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลเอง รวมทั้งความน่าเชื่อถือของประเทศไทยไปด้วย มันน่าอายจริงๆ บางครั้งเราก็พยายามที่จะปลอบใจตัวเองว่า ไม่เป็นไร น้ำมาแล้วก็ไป ชีวิตก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป ไม่แค่นั้นสิครับ ใช่ครับคนอื่นที่มาลงทุนแล้วก็จมไปกับน้ำ คนทำมาหากินมากมายหมดไปกับน้ำโดยไม่จำเป็น คราวหน้า เขาจะมีความมั่นใจกับเราอีกหรือครับ แล้วเราคนไทยจะมีความมั่นใจกับภาครัฐมากแค่ไหน...

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Disaster – 4. ลองคิดเล่นๆ แต่น่าจะจริง

ก็มีคนถามไถ่กันมาตามสมควรว่าผมเป็นไงบ้าง ผมก็คงจะเหมือนกันกับทุกๆ คน หลายๆ คนคงจะหาข้อมูลกันได้ชัดเจนมากกว่าผม ผมเองก็ยังไม่ได้มีประสบการณ์จริงเลยในเรื่องน้ำท่วม ลองนึกดูเล่นๆ ว่า ถ้าเกิดการหยุดชะงักของกิจกรรมพื้นฐานของกรุงเทพฯและลามไปในหลายๆ ภาคส่วน น้ำอาจจะทำลายโครงสร้างพื้นฐานในเกือบทุกๆ มิติ ส่วนเพลงที่ร้องกันอยู่ทุกวันที่ว่า ให้รักกัน คนไทยรัก ก็น่าจะมีควาหมายมากขึ้น พอถึงเวลาที่จะต้องกินจะต้องเอาตัวรอดแล้ว ผมสงสัยว่า เราจะยังรักกันอยู่อีกตามเพลงหรือไม่ ก่อนหน้านี้ก็เห็นกัดกันจะตายไป! คำถามว่า แล้วคนไทยรักกันจริงๆ หรือ...

Disaster - 3. การจัดการภัยพิบัติ ไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้องวางแผนกันมาก่อน

อย่างที่เราเห็นๆ กันนั้น กรุงเทพฯ ถูกน้ำโจมตี ตลกดีมากเลย ทำให้ประเทศไทยเหมือนอยู่ภาวะสงคราม แต่เป็นสงครามกับธรรมชาติ รัฐบาลต้องประกาศหยุดราชการหลายวันเพื่อรับมือกับน้ำ พร้อมทั้งเปิดทางให้น้ำไหลผ่านกรุงเทพฯ เออ! แล้วทำไมเพิ่งจะมาคิดได้ แล้วเคยคิดมากันก่อนหรือไม่? ผมหมายถึงการวางแผน ก็น่าเห็นใจครับว่า มันไม่ง่ายอย่างที่เราเห็นเลยครับ ก็อย่างว่าล่ะครับ! ผมจึงลองไปหางานวิจัยที่ผ่านมาของประเทศต่างๆมาอ่านดู พบว่าไม่ใช่ประเทศไทยและกรุงเทพฯที่โดนน้ำท่วมอย่างนี้ ยังมีอีกหลายเมืองใหญ่ๆในโลกที่เคยโดนน้ำท่วมอย่างประเทศไทย ผมไปเจอรายงานการวิจัยเรื่องน้ำท่วมใน...

Disaster – ประเด็นลอจิสติกส์และโซ่อุปทานในเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม

น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตเราก็ขาดน้ำไม่ได้ ขาดน้ำ 3 วันก็อาจจะตายได้ เราอยู่ในน้ำหรือจมน้ำก็ไม่มีอากาศหายใจ เราก็ตายได้เช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันเรามีน้ำมากเกินไปก็ไม่ได้เหมือนกัน น้ำเป็น รูปแบบ (Mode)ที่สำคัญของการเดินทางและการขนส่งของมนุษย์จนเป็นเครื่องหมายของการเดินทางและการขนส่งในอดีต เมื่อนึกถึงลอจิสติกส์เองก็ยังต้องนึกถึงเรื่องการเดินทางและขนส่งทางเรือที่ใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางในการเดินทางไปรอบโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแต่น้ำในครั้งนี้เป็นน้ำที่ไม่ได้มีส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อลอจิสติกส์ของชีวิตมนุษย์เราเลย ผมหมายความว่า...

Disaster -- ภัยพิบัติ กับ ความเปราะบางของการจัดการภัยพิบัติ

ผมเองก็ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็นเหตุการณ์อย่างนี้ในชีวิตจริง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้พบประสบเหตุการณ์ด้วยตนเองก็ตาม แต่มันก็ดูน่ากลัวทีเดียว ก็แค่ได้เห็นความเสียหายในจอทีวีก็แย่แล้ว ยิ่งเห็นความเดือดร้อนของประชาชนทั่วไปที่ยังต้องอยู่กับน้ำไปอีกนาน น้ำท่วมก็เป็นภัยพิบัติชนิดหนึ่งของภัยพิบัติอีกหลายๆ อย่างที่จะเกิดขึ้นมาอีก ในอนาคตข้างหน้า เรามักจะถูกสั่งสอนด้วยคำพูดง่ายว่า เกิดเป็นคนไทยนั้นโชคดี แต่ผมว่าความโชคดีของเรานั้นกำลังจะหมดไปแล้ว แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป ระหว่างที่เรากำลังใช้ชีวิตอยู่บนความโชคดีทั้งหลาย ที่ทำให้เราอยู่สุขสบายโดยไม่ค่อยได้มีภัยพิบัติอะไรกับใครๆ...