วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

My Perspectives : 3-2015 แล้วเสียงของประชาชนจะมีความหมายอย่างไร?

My Perspectives : 3-2015  แล้วเสียงของประชาชนจะมีความหมายอย่างไร?  การใช้พลังประชาชนผ่านการเลือกตั้งหรือการทำประชามติคือวิถีทางหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย   วันนี้วิธีการใช้อำนาจของผู้ที่มีอำนาจนั้นก็ไม่ง่ายนัก  ถึงแม้ว่าจะมีอำนาจล้นฟ้า ล้นแผ่นดิน เพราะว่าโลกเราไม่เหมือนเดิม  การคมนามคมและการติดต่อสื่อสารทำให้เราและทุกคนในโลกเชื่อมต่อกัน   ทำให้สังคมมีหูมีตามากขึ้น  และคนทั่วไปก็มีความคิดมากขึ้น  หรือไม่?  เร็วๆนี้ท่านนายกฯกล่าวปรารภว่า  ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนั้นไม่ผ่านประชามติ ก็ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่  นี่สิครับ  พลังของประชาชน  ที่เรียกว่า ประชามติ  เพียงแต่ว่าวันนี้  เราจะสามารถมีประชามติหรือไม่  ที่จริงแล้วมันก็ คือ การเลือกตั้งนั่นเอง   ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการฟังเสียงประชาชน  เป็นวิถีทางหนึ่งของประชาชนที่ใช้ในการแสดงถึงพลังของประชาชน  แต่วันนี้ท่านผู้มีอำนาจนั้นจะเลือกใช้เครื่องมือนี้เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสนี้หรือไม่  หรือแค่ท่านนายกฯแค่พูดหยอกไปอย่างนั้นเอง  ท่านอาจจะไม่ได้อยากทำจริงๆก็ได้   ทั้งนี้ก็แล้วแต่ท่านผู้มีอำนาจจะกรุณา  แต่ถ้าเราได้ทำประชามติแล้ว  ร่างรัฐธรรมนุญนั้นไม่ผ่าน  แล้วก็ต้องกลับมาทำมาใหม่   การคงอยู่ของ คสช.และสภาฯทั้งหลายก็จะยืดยาวออกไปอีก  การเลือกตั้งก็จะถูกยืดออกไปอีก  ความเป็นประชาธิปไตยที่อำนาจของประชาชนไม่ได้ถูกกำจัดสิทธิและเสรีภาพก็จะถูกยืดยาวออกไปอีก   นั่นอาจจะเป็นหลุมพลางหรือไม่   เพราะว่าถ้าไม่มีการทำประชามติแล้ว  ให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านไปก่อนแล้วค่อยมาแก้ไขทีหลัง  เหมือนคราวก่อนนั้น  ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ประชาชนจะได้รัฐธรรมนุญตามที่ประชาชนต้องการหรือไม่  หรือถึงเวลาจะแก้จริงๆกลับไม่สามารถแก้ได้ด้วยเหตุผลทางการเมืองและไม่ใช่การเมือง    ก็ต้องลองคิดดู  แต่ก็คงได้แต่คิด   แต่อาจจะทำอะไรไม่ได้   


                เมื่อพูดถึงเสียงของประชาชนนั้น  หลายคนหลายพวกหลายกลุ่มนั้นต่างก็อ้างเสียงประชาชน  ไปขุดเอาตัวเลขมาจากไหนก็ไม่รู้ว่า  ประชาชนต้องการอย่างนี้และอย่างนั้น  ที่สุดแล้วก็ใช้กำลังประชาชนหรือมวลชนที่กลายเป็นมวลมหาประชาชนมาเป็นเครื่องมือแห่งความรุนแรงเพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ว่านี่คือพลังของประชาชนอย่างแท้จริงด้วยจำนวนคนเป็นๆ     ทั้งๆที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินทั้งของทั้งส่วนตัวและสาธารณะ   แต่หลายๆคนก็สนับสนุนและทำไมเป็นไม่รู้ไม่เห็น   แต่พอถึงกระบวนการเลือกตั้งหรือการทำประชามติ   ก็กลับไม่สนับสนุนและทำการต่อต้านการเลือกตั้ง  ความคิดตรงนี้แหละครับที่ทำลายโครงสร้างและกฎระเบียบของสังคมโดยนำเอาความรุนแรงและการใช้พลังอำนาจในการต่อสู้และทำลายทรัพย์สินและชีวิตเข้ามาแทนที่   โดยไมได้คำนึงถึงสิ่งที่พวกเราพวกเดียวกันตกลงว่าจะอยู่ร่วมกันในสังคมและพัฒนาไปด้วยกัน  นั่นคือ กฎหมาย
                เรื่องราวทั้งหมดก็มีอยู่เพียงเท่านี้จริงๆ   ทุกวันนี้เราสงบสุขได้ก็เพราะปืน  เพราะความกลัวในความรุนแรง  แต่ก็เป็นเรื่องดีที่สงบได้และไม่ใครเจ็บตาย  แต่ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันและความคิดเห็นร่วมกันและการยอมรับของทุกคนในสังคมและสังคมโลกเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนจะต้องมาตกลงร่วมกันและปฎิบัติตามกฎต่างๆที่สร้างร่วมกันไว้  และต้องช่วยกันรักษาและป้องกันไม่ให้มีใครละเมิดกฎนั้น   ความมีอภิสิทธิ์ของคนในสังคมที่อยู่เหนือกฎหมายนั้น คือ การคอรัปชั่นและเป็นการบ่อนทำลายโครงสร้างของสังคมซึ่งทำให้ฉุดรั้งการพัฒนาของสังคมให้เจริญตามไปในสังคมโลก  เมื่อผู้คนเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน  กฎที่เคยบังคับใช้ร่วมกันกลับไม่ได้ผลหรือไร้อำนาจบังคับ เพราะเจ้าหน้าที่หรือพนักงานกลับไม่เป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย   นี่ก็จะเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายสังคมอย่างมาก นี่คือสถานการณ์ที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นและเราได้ประสบกันมาอยู่ทุกวันนี้  แล้วเสียงของประชาชนจะมีความหมายอย่างไร?

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

My Perspectives 2-2015 : ความปรองดองเริ่มจากการมีคิดร่วมกันไปในทิศทางเดียวกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

ไม่ได้เขียนถึงเรื่องการเมืองมานานเป็นปีเลยครับหลังจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปีที่แล้ว  และอีกหลายๆเหตุการณ์ จนมาถึงการยึดอำนาจของ คสช.  ท่ามกลางความเห็นด้วยและไม่เห็นมาโดยตลอดจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ  สิ่งที่เห็นเด่นชัดอย่างหนึ่งก็ คือ ความสงบซึ่งเป็นเรื่องที่เถียงไม่ได้ ถึงแม้ว่าทางภาคใต้ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ยังไม่ได้สงบอย่างที่ว่ากัน   มันเห็นกันชัดๆอยู่โดยทั่วไปว่าบ้านเมืองสงบจริง เมื่อเทียบกับก่อนการปฎิวัติ   แต่ทว่าความมั่นคงของชาตินี่สิครับ ประเทศเรานี้มีความมั่นคงจริงหรือ   ความมั่นคงของชาติเราวัดกันที่ความสงบตัวเดียวเท่านั้นหรือไม่  ผมว่าไม่ใช่ครับ  ความั่นคงของชาตินั้นต้องไม่เปราะบาง  แต่จะต้องเหนียวแน่นและยืดหยุ่น
 แล้วอะไรล่ะที่จะทำให้ประเทศชาติมีความเหนียวแน่นและยืดหยุ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและในขณะเดียวกันนั้นก็ยังสามารถที่จะสร้างชาติให้เจริญขึ้นไปได้อีก   
หลายคนอาจจะบอกว่าต้องปรองดองกัน แล้วการปรองดองกันนั้น คือ อะไรและเป็นอย่างไรกันอีก    ความจริงแล้วการปรองดองกันนั้นไม่ใช่ว่า คือ การจับมือกันหรือการกอดกัน  หรือเป็นแค่การอาศัยอยู่ร่วมกันโดยไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน   นั่นเป็นสภาพแบบผิวๆที่เราเห็นจากการปรองดอง  ซึ่งอาจจะสร้างภาพกันได้หรือเกิดแค่ชั่วคราว   แต่ในมุมมองของผมนั้นความปรองดองที่แท้ไม่ได้เริ่มจากสภาพหรือกิจกรรมเหล่านั้นเลย  ความปรองดองนั้น เกิดจาการทำงานร่วมกัน (Collaboration) หรือ ความสามัคคีกัน  ถึงแม้ว่าผู้คนในสังคมนั้นจะมีความคิดเห็นต่างกัน  มีความสามารถแตกต่างกัน  และอยู่ในระดับของชนชั้นในสังคมที่แตกต่างกัน  แต่ก็สามารถที่จะมีความคิดร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นทีมได้  มีความคิดแบบองค์รวมกัน  ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่  ต่างคนต่างหาผลประโยชน์  ความเป็นองค์รวมไม่ได้บอกว่าเหมือนกันทั้งหมด  แต่ก็ต้องยอมรับว่าต้องไปในทิศทางเดียวกัน   ที่สำคัญ คือ ต้องได้ผลประโยชน์ร่วมกัน   ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่เมื่อใดก็เมื่อนั้นเมื่อเวลามาถึง  ทุกคนต้องได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน  

                ความสามัคคีหรือความปรองดองนั้นต้องเกิดจากความคิดหรือ mindset เป็นหลัก  ถ้าคนในสังคมคิดไม่ได้แล้วหรือไม่พยายามที่จะคิดนั้น  ก็คงไม่มีทางที่จะปรองดองกันได้หรือสามัคคีกันได้    องค์ประกอบที่สำคัญของความสามัคคีหรือความปรองดองนั้นก็ คือ ความไว้ใจ (Trust) นั่นเอง  เพราะว่าถ้าเราขาดความไว้ใจกันแล้ว  เราก็จะขัดขาและขัดแย้งกันเองจนกิจกรรมเพื่อส่วนรวมไม่สามารถดำเนินการกันได้   แต่ว่าเมื่อคนในสังคมมีจำนวนวนมากขึ้น มีความหลากหลายมากขึ้น  มีผู้คนมากหน้าหลายตาต่างความคิดและประสบการณ์  คนเราจึงต้องใช้เครื่องมือทางสังคมเพื่อสร้างความไว้ใจและการได้รับมอบหมายในอำนาจในการดำเนินงานตามความคิดส่วนรวม  ด้วยการสื่อสารและควบคุมในการดำเนินงานของคนในสังคมเพื่อให้เกิดระเบียบทั้งในการการรวบรวมความคิดและการนำเอาความคิดไปใช้ให้เกิดประโยชน์   เครื่องมือในการสร้างความไว้ใจเหล่านี้ก็ คือ กฎระเบียบของสังคมซึ่งทุกคนในสังคมยอมรับและให้การรับรองผ่านกระบวนการต่างๆทางสังคมอื่นๆที่คนในสังคมตกลงร่วมกัน 
                ผมว่านี่เป็นตรรกะง่ายๆที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของสังคมมนุษย์ที่ยังไม่ได้เอาอารมณ์ ความรู้สึกเห็นแก่ตัว  คุณธรรม  การเอาเปรียบผู้อื่น  และเครื่องมือที่สำคัญที่เป็นทั้งพระเอกและผู้ร้ายในเวลาเดียวกัน ก็ คือ ความรุ่นแรงนั่นเองเข้ามาเกี่ยวข้อง   สังคมมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่ได้เป็นสังคมในอุดคติที่มีแต่เรื่องดีๆที่เราคิดได้   ในทางตรงกันข้ามเรื่องร้ายๆที่เรานึกไม่ถึงก็เกิดขึ้นได้เสมอ   ความรุนแรงถูกมนุษย์นำเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจในสังคมเพื่อการทำร้ายล้างทั้งชีวิตและทรัพย์สินเพื่อให้ได้ซึ่งอำนาจในการควบคุมทั้งความคิดและการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของสังคมหรือของใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง     สมการนี้มีองค์ประกอบหรือตัวแปรไม่มากนัก  แต่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและบริบทที่เกิดขึ้นในแต่ละสังคมอีกทั้งห้วงเวลาที่เกิดขึ้นนั้นซับซ้อนยิ่งนัก 
                ดังนั้นเมื่อมองเข้ามาในสังคมไทยด้วยตัวแปรต่างๆและบริบทต่างๆ  โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาดวงดาวหรือโหราศาสตร์  ก็พบว่าสังคมไทยขาดสมดุลด้วยพลังแห่งอำนาจของความรุนแรงที่ทำให้เสียสมดุลไป อีกทั้งความเชื่อมโยงหรือความปฎิสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและความสัมพันธ์ประชาคมโลกนั้นใกล้ชิดด้วยข่าวสารและการคติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วขึ้น  ภายในประเทศดูสงบนิ่ง  แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดูตึงเครียดด้วยสภาพเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศที่กดดันอยู่ในหลายๆเรื่อง  ในทางตรงกันข้ามความคิดของพลเมืองหรือประชาชนในประเทศก็มีการพัฒนาไปมากขึ้น  พลเมืองประเทศไทยและผู้นำไทยเข้าใจตัวเองหรือการเมืองและเศรษฐกิจโลกหรือเปล่า  ในขณะเดียวกันกลับไม่ได้ประเมินตัวเองในสถานะและสมรรถนะของตัวเองเพื่อการพัฒนาและอยู่รอด แต่นับว่าโชคดีที่ไม่มีความรุนแรงจากอีกฝ่ายหนึ่งที่จะออกมาต่อต้านหรืออาจจะรอคอยกัการระเบิดออกอีกครั้งหนึ่ง จึงอาจจะทำให้ฝ่ายที่ครองอำนาจอยู่ทุกวันนี้ต้องการความมั่นใจและความสะดวกในการดำเนินการในการจัดการกฎระเบียบใหม่ของสังคมซึ่งจะเป็นผลดีหรือไม่ดีต่อประเทศนั้นก็คงต้องดูต่อไป ตรงที่การยอมรับของพลเมืองหรือประชาชน   ไม่ใช่ที่ผู้กำหนดหรือผู้ที่เขียนรัฐธรรมนูญขึ้น  
                แต่ถ้าเมื่อใดการเขียนรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชนแล้ว  ถึงจะดูดีอย่างไรในมุมเชิงวิชาการหรือมุมใดมุมหนึ่งของผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้น  เมื่อรัฐธรรมนูญนั้นถกนำไปใช้ในกลุ่มพลเมืองหรือประชาชนส่วนใหญ่   ประชาชนพลเมืองพวกเขาก็จะต่อต้านและปรับกระบวนการในที่สุด    ผลลัพธ์จะออกมาเป็นรูปแบบใดนั้นก็แล้วแต่ประชาชนจริงๆ  แต่ถ้าเรารู้อย่างนั้นแล้ว  ถ้าเรารู้ว่ามันผิดทางแล้ว  ทำไมเราจะต้องพาประเทศ พาสังคมหลงทางไปในทางนั้นอีกด้วยเหล่า  ผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่จะลลายหายไปกับการหลงทางนี้โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย  แต่ในระหว่างทางที่เราเดินหลงทางไปคนส่วนหนึ่งย่อมได้ประโยชน์  ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยที่อาจจะทำให้คนส่วนใหญ่ในสังคมเสียประโยชน์จากโอกาสต่างๆทีเกิดในสังคมโลก  นั่นเป็นเพราะอะไร?  อาจจะเป็นเพราะแค่ความคิดพื้นฐานหรือหลักคิดพื้นฐานของคนไทยในการดำรงอยู่ร่วมกันที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปกาลเวลา
7 เม.ย. 2558

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

My Business Ecosystem 1

My Business Ecosystem 1 : เริ่มที่ได้รับเชิญจากกลุ่มบริษัทพรีเมียร์มาร์เก็ตติ้งจำกัด ไปร่วมงานที่สยามพารากอน  เมื่อ 25 มีนาคม  2558   ในแนวคิดของงานที่ว่ากำไรที่ยั่งยืน คือ กำไรสูงสุด   นี่เป็นงาน CSR อย่างหนึ่งหลังจากผมเห็นชื่องานตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับบัตรเชิญ  แถมยังนึกติดตลกว่า นี่ยังดีกว่าเป็น CSR ไปปลูกป่าเสียอีก ประเด็นที่สำคัญที่ได้ฟังในวันนั้นมีประเด็นของความยั่งยืน (Sustainable) และระบบนิเวศ (Ecosystem) สองคำนี้เริ่มที่จะถูกใช้อย่างพร่ำเพรื่อมากขึ้นในยุคนี้  ยิ่งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สมัยใหม่ทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับระบบนิเวศทางธุรกิจมากขึ้นจนถึงขั้นมีดัชนีชี้วัดของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่ามีผลประกอบการที่หันกลับไปช่วยเหลือสังคมอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ช่วยการสร้างสมดุลให้กับสังคมและธุรกิจ   
                ในหลายๆครั้งหรือคิดว่าเป็นส่วนมากดีกว่า
  เมื่อนึกถึงเรื่อง Sustainable หรือ ความยั่งยืนก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติเสียส่วนใหญ่  ซึ่งก็ไม่ผิดครับ  แต่กว่าจะเอาตัวเองไปรับผิดชอบกับธรรมชาติได้  ก็คงต้องเอาตัวเองให้รอดในธุรกิจเสียก่อน    ดังนั้นความยั่งยืนในมุมมองของผมนั้นเป็นความยั่งยืนของธุรกิจที่สามารถอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ   แล้วจึงค่อยอยู่รอดและสมดุลไปกับสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ 
                ธุรกิจหรือคนเรานั้นไม่สามารถคงอยู่แบบโดดๆคนเดียวได้  จำเป็นต้องอยู่กับเป็นสังคมเป็นระบบนิเวศน์    ในธรรมชาติเราจะเห็นระบบนิเวศน์ (Ecology System) ตัวอย่างเช่น  การดำรงอยู่ร่วมกันของสัตว์และพืชในป่าใหญ่  หรือในสระน้ำในป่าใหญ่   ในระบบนิเวศน์นั่นก็จะประกอบไปด้วยโซ่อาหาร (Food Chain) ที่ต่อเนื่องกันไปตามลำดับอย่างสมดุล  เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทำทำให้เกิดความผิดปกติของระบบแล้ว  ระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติก็จะต้องปรับตัวเพื่อให้ระบบนิเวศน์นั้นอยู่รอด
ในระบบธุรกิจก็เช่นกันมีการรวมตัวกันเป็นระบบหรือเป็นโซ่อุปทาน (Supply Chain)  ในยุคแรกๆของสังคมมนุษย์แนวคิดแบบระบบนิเวศน์ทางธูรกิจ  อาจจะยังไม่ได้รับความสนใจ   เพราะว่าขนาดและความซับซ้อนของสังคมมนุษย์ยังไม่มากเท่าใดกัน  จนมาถึงระยะเวลาหนึ่งแนวคิดเรื่อง โซ่คุณค่า  โซ่อุปทานได้รับความในใจมากขึ้น   การดำรงอยู่ธุรกิจจึงต้องพึ่งพาอาศัยกันเป็นกลุ่มมากขึ้น  มีผลประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น  ทำงานร่วมกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีฟังก์ชั่นหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป   หรือที่เรียกว่า Collaborate กันมากขึ้น   ได้ผลประโยชน์หรือกำไรร่วมกัน ขาดทุนร่วมกัน
                ต่อมาก็มีแนวคิดการดำรงอยู่ของธุรกิจอย่างยั่งยืนนั้น  ผมคงไม่ได้คิดไปไกลไปกว่าการดำรงอยู่ของธุรกิจในตลาด  การที่องค์กรธุรกิจสามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงได้ทันกับ
  จากแนวคิดโซ่อุปทานที่เป็นพื้นฐานของการรวมตัวกันเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า   ในปัจจุบันความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีขนาดและจำนวนมากขึ้นตามความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  จึงทำให้เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มหันมามองการรวมกลุ่มของหน่วยธุรกิจที่เป็นมากกว่า Supply Chain  ที่เป็น Business Ecosystem หรือ ระบบนิเวศทางธุรกิจ
                แล้ว
Business Ecosystem คือ อะไร ?   ที่สำคัญ Ecosystem ไม่ได้หมายถึง ระบบตามธรรมชาติที่เราเรียกกันว่า  Ecology  แต่เรากำลังหมายถึงระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นมาหรือกลุ่มมนุษย์หรือกลุ่มองค์กรที่มนุษย์สร้างขึ้นมาอยู่ร่วมกันในเชิงระบบที่สามารถปรับตัวได้ด้วยตัวเอง  ไม่แตกสลายไปเมื่อเกิดเหตุการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม   ดังนั้น Business Ecosystem ตามที่ Steve Muegge 2013 ให้ความหมายไว้ว่า  เป็นกลุ่มคนที่มีส่วนในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยมาใช้ประโยชน์จาก Platform  โดยมีส่วนร่วมในผลประโยชน์โดยส่วนรวมเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมทั้งหมด (The Whole)  ใน Business Ecosystem นี้ก็จะประกอบไปด้วยชุมชน (Community) หรือองค์กรของกลุ่มคนซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชุมชน คือ ชุมชนแรกที่เป็นผู้ที่สร้างและดำรงรักษา Platform และกลุ่มที่สองจะเป็นกลุ่มที่ใช้ประโยชน์จาก Platform ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการจาก Platform     แล้ว Platform นั้น คือ อะไร?  Platform คือ กลุ่มของเทคโนโลยีที่เป็นเหมือนตัวต่อ (Building Blocks) ที่คนทั่วไปหรือบริษัทสามารถที่จะใช้เป็นส่วนเติมเต็มให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของคนหรือบริษัทในชุมชน
  ดังนั้น
Platform จึงเป็นเหมือนแกนกลางของชุมชนหรือระบบนิเวศน์ที่ให้สมาชิกของระบบนิเวศน์นั้นสามารถอศัยอยู่ร่วมกันได้ให้เป็นไปตามวัฎจักรของชีวิตหรือธุรกิจ  เหมือนกับระบบนิเวศน์ของสระน้ำ   สัตว์ทั้งหลายอาศัยอยู่ในสระน้ำที่เป็น Platform  โดยมีชุมชนสัตว์ทั้งหลาย แมลง  สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ  สัตว์น้ำ  พืชต่างๆที่อาศัยอยู่ร่วมกันบน Platform  ที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตร่วมกันได้.



ในภาพนั้นเป็นระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่กำหนดจากชุมชนเชิงชีววิทยาของการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งมีชีวิตและรวมถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพด้วย   ในทางเดียวกัน Business Ecosystem เป็นเครือข่าย (Network) หรือ เป็น Supply Chain ผู้ซื้อ  ผู้จัดส่งวัตถุดิบและผู้ผลิตของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ  รวมทั้งสิ่งแวดล้อมเชิงสังคมเศรษฐกิจรวมทั้งกรอบการทำงานในด้านสถาบันองค์กรและกฎระเบียบ