My Business Ecosystem 1 : เริ่มที่ได้รับเชิญจากกลุ่มบริษัทพรีเมียร์มาร์เก็ตติ้งจำกัด
ไปร่วมงานที่สยามพารากอน เมื่อ 25 มีนาคม 2558
ในแนวคิดของงานที่ว่ากำไรที่ยั่งยืน คือ กำไรสูงสุด นี่เป็นงาน CSR อย่างหนึ่งหลังจากผมเห็นชื่องานตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับบัตรเชิญ แถมยังนึกติดตลกว่า นี่ยังดีกว่าเป็น CSR
ไปปลูกป่าเสียอีก
ประเด็นที่สำคัญที่ได้ฟังในวันนั้นมีประเด็นของความยั่งยืน (Sustainable) และระบบนิเวศ (Ecosystem)
สองคำนี้เริ่มที่จะถูกใช้อย่างพร่ำเพรื่อมากขึ้นในยุคนี้
ยิ่งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สมัยใหม่ทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับระบบนิเวศทางธุรกิจมากขึ้นจนถึงขั้นมีดัชนีชี้วัดของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่ามีผลประกอบการที่หันกลับไปช่วยเหลือสังคมอย่างไรบ้าง
เพื่อที่จะได้ช่วยการสร้างสมดุลให้กับสังคมและธุรกิจ
ในหลายๆครั้งหรือคิดว่าเป็นส่วนมากดีกว่า เมื่อนึกถึงเรื่อง Sustainable หรือ ความยั่งยืนก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติเสียส่วนใหญ่ ซึ่งก็ไม่ผิดครับ แต่กว่าจะเอาตัวเองไปรับผิดชอบกับธรรมชาติได้ ก็คงต้องเอาตัวเองให้รอดในธุรกิจเสียก่อน ดังนั้นความยั่งยืนในมุมมองของผมนั้นเป็นความยั่งยืนของธุรกิจที่สามารถอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ แล้วจึงค่อยอยู่รอดและสมดุลไปกับสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ
ในหลายๆครั้งหรือคิดว่าเป็นส่วนมากดีกว่า เมื่อนึกถึงเรื่อง Sustainable หรือ ความยั่งยืนก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติเสียส่วนใหญ่ ซึ่งก็ไม่ผิดครับ แต่กว่าจะเอาตัวเองไปรับผิดชอบกับธรรมชาติได้ ก็คงต้องเอาตัวเองให้รอดในธุรกิจเสียก่อน ดังนั้นความยั่งยืนในมุมมองของผมนั้นเป็นความยั่งยืนของธุรกิจที่สามารถอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ แล้วจึงค่อยอยู่รอดและสมดุลไปกับสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ
ธุรกิจหรือคนเรานั้นไม่สามารถคงอยู่แบบโดดๆคนเดียวได้ จำเป็นต้องอยู่กับเป็นสังคมเป็นระบบนิเวศน์ ในธรรมชาติเราจะเห็นระบบนิเวศน์ (Ecology
System) ตัวอย่างเช่น
การดำรงอยู่ร่วมกันของสัตว์และพืชในป่าใหญ่ หรือในสระน้ำในป่าใหญ่ ในระบบนิเวศน์นั่นก็จะประกอบไปด้วยโซ่อาหาร (Food
Chain) ที่ต่อเนื่องกันไปตามลำดับอย่างสมดุล
เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทำทำให้เกิดความผิดปกติของระบบแล้ว ระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติก็จะต้องปรับตัวเพื่อให้ระบบนิเวศน์นั้นอยู่รอด
ในระบบธุรกิจก็เช่นกันมีการรวมตัวกันเป็นระบบหรือเป็นโซ่อุปทาน (Supply
Chain) ในยุคแรกๆของสังคมมนุษย์แนวคิดแบบระบบนิเวศน์ทางธูรกิจ อาจจะยังไม่ได้รับความสนใจ
เพราะว่าขนาดและความซับซ้อนของสังคมมนุษย์ยังไม่มากเท่าใดกัน จนมาถึงระยะเวลาหนึ่งแนวคิดเรื่อง
โซ่คุณค่า โซ่อุปทานได้รับความในใจมากขึ้น
การดำรงอยู่ธุรกิจจึงต้องพึ่งพาอาศัยกันเป็นกลุ่มมากขึ้น มีผลประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น ทำงานร่วมกันมากขึ้น
ถึงแม้ว่าจะมีฟังก์ชั่นหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป หรือที่เรียกว่า Collaborate กันมากขึ้น ได้ผลประโยชน์หรือกำไรร่วมกัน ขาดทุนร่วมกัน
ต่อมาก็มีแนวคิดการดำรงอยู่ของธุรกิจอย่างยั่งยืนนั้น ผมคงไม่ได้คิดไปไกลไปกว่าการดำรงอยู่ของธุรกิจในตลาด การที่องค์กรธุรกิจสามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงได้ทันกับ จากแนวคิดโซ่อุปทานที่เป็นพื้นฐานของการรวมตัวกันเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ในปัจจุบันความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีขนาดและจำนวนมากขึ้นตามความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จึงทำให้เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มหันมามองการรวมกลุ่มของหน่วยธุรกิจที่เป็นมากกว่า Supply Chain ที่เป็น Business Ecosystem หรือ ระบบนิเวศทางธุรกิจ
แล้ว Business Ecosystem คือ อะไร ? ที่สำคัญ Ecosystem ไม่ได้หมายถึง ระบบตามธรรมชาติที่เราเรียกกันว่า Ecology แต่เรากำลังหมายถึงระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นมาหรือกลุ่มมนุษย์หรือกลุ่มองค์กรที่มนุษย์สร้างขึ้นมาอยู่ร่วมกันในเชิงระบบที่สามารถปรับตัวได้ด้วยตัวเอง ไม่แตกสลายไปเมื่อเกิดเหตุการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น Business Ecosystem ตามที่ Steve Muegge 2013 ให้ความหมายไว้ว่า เป็นกลุ่มคนที่มีส่วนในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยมาใช้ประโยชน์จาก Platform โดยมีส่วนร่วมในผลประโยชน์โดยส่วนรวมเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมทั้งหมด (The Whole) ใน Business Ecosystem นี้ก็จะประกอบไปด้วยชุมชน (Community) หรือองค์กรของกลุ่มคนซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชุมชน คือ ชุมชนแรกที่เป็นผู้ที่สร้างและดำรงรักษา Platform และกลุ่มที่สองจะเป็นกลุ่มที่ใช้ประโยชน์จาก Platform ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการจาก Platform แล้ว Platform นั้น คือ อะไร? Platform คือ กลุ่มของเทคโนโลยีที่เป็นเหมือนตัวต่อ (Building Blocks) ที่คนทั่วไปหรือบริษัทสามารถที่จะใช้เป็นส่วนเติมเต็มให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของคนหรือบริษัทในชุมชน
ดังนั้น Platform จึงเป็นเหมือนแกนกลางของชุมชนหรือระบบนิเวศน์ที่ให้สมาชิกของระบบนิเวศน์นั้นสามารถอศัยอยู่ร่วมกันได้ให้เป็นไปตามวัฎจักรของชีวิตหรือธุรกิจ เหมือนกับระบบนิเวศน์ของสระน้ำ สัตว์ทั้งหลายอาศัยอยู่ในสระน้ำที่เป็น Platform โดยมีชุมชนสัตว์ทั้งหลาย แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์น้ำ พืชต่างๆที่อาศัยอยู่ร่วมกันบน Platform ที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตร่วมกันได้.
ต่อมาก็มีแนวคิดการดำรงอยู่ของธุรกิจอย่างยั่งยืนนั้น ผมคงไม่ได้คิดไปไกลไปกว่าการดำรงอยู่ของธุรกิจในตลาด การที่องค์กรธุรกิจสามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงได้ทันกับ จากแนวคิดโซ่อุปทานที่เป็นพื้นฐานของการรวมตัวกันเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ในปัจจุบันความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีขนาดและจำนวนมากขึ้นตามความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จึงทำให้เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มหันมามองการรวมกลุ่มของหน่วยธุรกิจที่เป็นมากกว่า Supply Chain ที่เป็น Business Ecosystem หรือ ระบบนิเวศทางธุรกิจ
แล้ว Business Ecosystem คือ อะไร ? ที่สำคัญ Ecosystem ไม่ได้หมายถึง ระบบตามธรรมชาติที่เราเรียกกันว่า Ecology แต่เรากำลังหมายถึงระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นมาหรือกลุ่มมนุษย์หรือกลุ่มองค์กรที่มนุษย์สร้างขึ้นมาอยู่ร่วมกันในเชิงระบบที่สามารถปรับตัวได้ด้วยตัวเอง ไม่แตกสลายไปเมื่อเกิดเหตุการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น Business Ecosystem ตามที่ Steve Muegge 2013 ให้ความหมายไว้ว่า เป็นกลุ่มคนที่มีส่วนในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยมาใช้ประโยชน์จาก Platform โดยมีส่วนร่วมในผลประโยชน์โดยส่วนรวมเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมทั้งหมด (The Whole) ใน Business Ecosystem นี้ก็จะประกอบไปด้วยชุมชน (Community) หรือองค์กรของกลุ่มคนซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชุมชน คือ ชุมชนแรกที่เป็นผู้ที่สร้างและดำรงรักษา Platform และกลุ่มที่สองจะเป็นกลุ่มที่ใช้ประโยชน์จาก Platform ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการจาก Platform แล้ว Platform นั้น คือ อะไร? Platform คือ กลุ่มของเทคโนโลยีที่เป็นเหมือนตัวต่อ (Building Blocks) ที่คนทั่วไปหรือบริษัทสามารถที่จะใช้เป็นส่วนเติมเต็มให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของคนหรือบริษัทในชุมชน
ดังนั้น Platform จึงเป็นเหมือนแกนกลางของชุมชนหรือระบบนิเวศน์ที่ให้สมาชิกของระบบนิเวศน์นั้นสามารถอศัยอยู่ร่วมกันได้ให้เป็นไปตามวัฎจักรของชีวิตหรือธุรกิจ เหมือนกับระบบนิเวศน์ของสระน้ำ สัตว์ทั้งหลายอาศัยอยู่ในสระน้ำที่เป็น Platform โดยมีชุมชนสัตว์ทั้งหลาย แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์น้ำ พืชต่างๆที่อาศัยอยู่ร่วมกันบน Platform ที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตร่วมกันได้.
ในภาพนั้นเป็นระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่กำหนดจากชุมชนเชิงชีววิทยาของการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งมีชีวิตและรวมถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพด้วย ในทางเดียวกัน Business Ecosystem เป็นเครือข่าย (Network) หรือ เป็น Supply
Chain ผู้ซื้อ
ผู้จัดส่งวัตถุดิบและผู้ผลิตของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ
รวมทั้งสิ่งแวดล้อมเชิงสังคมเศรษฐกิจรวมทั้งกรอบการทำงานในด้านสถาบันองค์กรและกฎระเบียบ