ความจริงแล้ว Demand Chain หรือ โซ่อุปสงค์เกิดขึ้นมาก่อนโซ่อุปทาน เป้าหมายของการจัดการไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม คือความพยายามที่จะสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ข้อแตกต่างระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ก็คือ ตัวเลขและความเป็นจริงที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น รถยนต์ 1000 คัน ถ้าเป็นอุปสงค์ก็เป็นแค่ข้อมูลความต้องการที่เป็นตัวเลขจำนวน 1000 คัน แต่ถ้าเป็นอุปทานนั้น ก็คือ การจัดหาและประกอบรถยนต์ให้ได้เป็นจำนวน 1000 คันที่วิ่งได้จริงๆ แล้วอุปสงค์ก็มีเป็นโซ่อุปสงค์ไหม? มีครับ เราก็เรียกว่าโซ่อุปสงค์ (Demand Chain) นั่นก็คือ เส้นทางการไหลของสารสนเทศที่เป็นตัวบอกว่า ความต้องการของลูกค้าเป็นจำนวนเท่าไหร่? ตัวอุปสงค์นี้จะเป็นตัวกำหนดความเป็นไปของกิจกรรมในโซ่อุปทาน ถ้าอุปสงค์ดีหรือแม่นยำก็จะทำให้การจัดการโซ่อุปทานนั้นมีประสิทธิภาพดี ไม่ได้อยู่ในสภาพขาด (Shortage) หรือเกิน (Inventory)
ส่วนมากแล้วกิจกรรมของโซ่อุปสงค์นั้นจะแฝงอยู่ในกิจกรรมของโซ่อุปทานอยู่แล้ว เช่น กิจกรรมการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting) ถ้ายังจำได้ถึง 8 กระบวนการหลักของการจัดการโซ่อุปทานนั้น มีอยู่ 3 กระบวนการหลักที่เกี่ยวข้องกับโซ่อุปสงค์ คือ Customer Relationship Management, Customer Service Management และ Demand Management ทั้งสามกระบวนการนี้ คือ โซ่อุปสงค์ที่จะนำเอาสารสนเทศและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของลูกค้ามาเพื่อเป็นโจทย์ให้โซ่อุปทานจัดหามาเติมเต็มให้ได้ตามอุปสงค์หรือความต้องการ
สังเกตุได้ว่าโซ่อุปสงค์นั้นได้ฝังตัวอยู่ในการจัดการโซ่อุปทานอยู่แล้ว ที่จริงแล้วเรื่องของอุปสงค์นั้นมีความสำคัญต่อการจัดการโซ่อุปทานอย่างยิ่ง แต่กระบวนการของโซ่อุปสงค์นั้นไม่ได้ซับซ้อนและยุ่งยากเหมือนโซ่อุปทานซึ่งจะต้องมีความเกี่ยวพันกับขั้นตอนต่างๆ ผู้คนและบริษัทองค์กรอีกมากมายที่มาร่วมกันสร้างคุณค่าให้ได้คุณภาพและจำนวนตามที่โซ่อุปสงค์กำหนดมา นี่คือ อีกหนึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมเน้นแต่โซ่อุปทาน ไม่เห็นมีใครเน้นที่โซ่อุปสงค์ ที่จริงแล้วต้องเน้นที่อุปสงค์มากๆเลย แต่โซ่อุปสงค์ไม่ได้มีความซับซ้อนเท่ากับโซ่อุปทาน ต่อให้อุปสงค์นั้นเป็นความต้องการที่แท้จริงหรือไม่มีผิดพลาดเลย การจัดการโซ่อุปทานที่จะตอบสนองต่อจำนวนที่ต้องการนั้นก็อาจจะไม่สามารถตอบสนองได้ตรงตามเป้าหมายเสมอไป เพราะว่าความไม่แน่นอนและความซับซ้อนในโซ่อุปทานมีมากกว่าโซ่อุปสงค์มาก
ส่วนมากแล้วกิจกรรมของโซ่อุปสงค์นั้นจะแฝงอยู่ในกิจกรรมของโซ่อุปทานอยู่แล้ว เช่น กิจกรรมการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting) ถ้ายังจำได้ถึง 8 กระบวนการหลักของการจัดการโซ่อุปทานนั้น มีอยู่ 3 กระบวนการหลักที่เกี่ยวข้องกับโซ่อุปสงค์ คือ Customer Relationship Management, Customer Service Management และ Demand Management ทั้งสามกระบวนการนี้ คือ โซ่อุปสงค์ที่จะนำเอาสารสนเทศและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของลูกค้ามาเพื่อเป็นโจทย์ให้โซ่อุปทานจัดหามาเติมเต็มให้ได้ตามอุปสงค์หรือความต้องการ
สังเกตุได้ว่าโซ่อุปสงค์นั้นได้ฝังตัวอยู่ในการจัดการโซ่อุปทานอยู่แล้ว ที่จริงแล้วเรื่องของอุปสงค์นั้นมีความสำคัญต่อการจัดการโซ่อุปทานอย่างยิ่ง แต่กระบวนการของโซ่อุปสงค์นั้นไม่ได้ซับซ้อนและยุ่งยากเหมือนโซ่อุปทานซึ่งจะต้องมีความเกี่ยวพันกับขั้นตอนต่างๆ ผู้คนและบริษัทองค์กรอีกมากมายที่มาร่วมกันสร้างคุณค่าให้ได้คุณภาพและจำนวนตามที่โซ่อุปสงค์กำหนดมา นี่คือ อีกหนึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมเน้นแต่โซ่อุปทาน ไม่เห็นมีใครเน้นที่โซ่อุปสงค์ ที่จริงแล้วต้องเน้นที่อุปสงค์มากๆเลย แต่โซ่อุปสงค์ไม่ได้มีความซับซ้อนเท่ากับโซ่อุปทาน ต่อให้อุปสงค์นั้นเป็นความต้องการที่แท้จริงหรือไม่มีผิดพลาดเลย การจัดการโซ่อุปทานที่จะตอบสนองต่อจำนวนที่ต้องการนั้นก็อาจจะไม่สามารถตอบสนองได้ตรงตามเป้าหมายเสมอไป เพราะว่าความไม่แน่นอนและความซับซ้อนในโซ่อุปทานมีมากกว่าโซ่อุปสงค์มาก