ผมโดนแซวจากอาจารย์สิงหาในทำนองว่า “ผมมัวแต่ไปแปลหนังสือขายหรือไปทำ Consult ให้ผมหันมาทำวิจัยดีกว่าไหม?” นั่นไงครับ นี่คือ จุดยืนเรื่องงานวิจัยของผมซึ่งก็ยังคงเหมือนเดิม ตั้งแต่ผมพยายามเขียนบทความแรกลงในนิตยสารทางอุตสาหกรรมซึ่งผมตั้งใจว่าจะทำให้คนทำงานในอุตสาหกรรมอ่านแล้ว เขาอยากจะรู้ต่อไปว่า งานวิชาการหรือทฤษฎีจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง ถ้าวันนี้คนในอุตสาหกรรมยังพูดใส่หน้าผมว่า “อาจารย์! ผมไม่เอาทฤษฎีนะ ไม่ชอบวิชาการ เอาตัวอย่างการทำมาเลย บอกมาเลยว่าทำอย่างไร” ผมว่าเรามีงานวิจัยอย่างไร มีนักวิจัยมากเท่าไหร่ ก็ไม่มี Outcome ไม่มี Impact เพราะถ้าคนในอุตสาหกรรมไม่ Buy in ก็ไม่มีใครมาอ่านงานวิจัย แล้วทำไมถึงไม่ Buy in ล่ะ พวกเขาก็ลูกศิษย์เราทั้งนั้น ไม่ใช่ลูกศิษย์เรา ก็ลูกศิษย์เพื่อนเราเองทั้งนั้น พวกเราสอนพวกเขามากับมือ ทั้งปริญญาตรี โท จนปริญญาเอก แล้วทำไมคนในอุตสาหกรรมนั้นถึงไม่รับวิชาการหรือทฤษฎีเลยล่ะ ก็อย่าโทษใครเลย ก็พวกเรากันทั้งนั้น ก็ผลงานของอาจารย์ทั้งนั้น วงการศึกษานี่ไงที่สร้างให้เขาเป็นอย่างนั้นไม่ใช่หรือ แล้วเรากำลังแก้ปัญหาที่ปลายเหตุหรือไม่ อะไรที่ทำให้เขา ไม่ใช่คิดไม่เป็น ไม่ใช่เขาคิดไม่ได้ แต่ทัศนคติต่อการศึกษาและการวิจัยไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งการทำงาน แต่การวิจัยอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขาก็ได้ เพราะว่าเขาได้ประโยชน์โดยตรง
จุดยืนผมนั้น ผมไม่ใช่นักวิจัย แต่ผมอ่านงานวิจัย ทำวิจัยบ้างตามโอกาส ผมใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการสร้างนักวิจัย และผมก็พยายามที่จะให้อุตสาหกรรมนั้นมีจิตวิญญาณของนักวิจัยในกระบวนการทำงาน อยากให้พวกเขามีกระบวนการวิจัยเป็นพื้นฐานอยู่ในการทำงานทุกวัน ไม่จำเป็นต้องเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์เอาผลงานหรอกครับ เอาแค่ทำ Kaizen ด้วยจิตวิญญาณของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและใช้ความรู้วิชาการธรรมดาก็พอแล้ว จากนั้นก็สื่อสารความรู้ที่ได้จากการทำ Kaizen ออกไปในองค์กรของตัวเอง แค่นี้ก็ Impact แล้วครับ นี่ล่ะครับงานวิจัยที่แท้จริง ได้ผลเลยครับ ไม่ต้องตีพิมพ์ ได้เงินเลย Impact เลยครับ เพราะว่าพวกเขาถ้ามีความเป็นนักวิจัยเป็นพื้นฐานแล้ว ถ้าเขาทำไม่ได้และเกินกำลังความสามารถของพวกเขาแล้ว พวกเขาก็มาหาอาจารย์และนักวิจัยเองล่ะครับ เขาจะมาให้โจทย์วิจัยด้วยตัวเอง
แล้วอาจารย์คิดว่า ผมสนุกกับการทำหนังสือแปลหรือครับ มันคุ้มกันไหม ศักดิ์ศรีหรือคุณค่าของงานแปลมันอาจจะสู้งานวิจัยที่ตีพิมพ์ไม่ได้หรอกครับ แต้มหรือคะแนนที่คณะกรรมการประเมินผลงานที่ให้ก็ไม่เหมือนกัน หรืออาจจะไม่นับให้เลยก็ได้ ผมก็คิดเพียงแต่ว่า “เมื่อคนทั้งโลกเขาได้อ่าน ได้รู้กัน แล้วทำไมคนไทยไม่อ่านภาษาอังกฤษไปเลยล่ะ ถ้าอยากจะรู้ เมื่อไม่อ่านแล้ว เราจะตามเขาทันไหมครับ” ผมคิดว่า “ผมอยากจะทำให้เขาได้อ่านกัน” งานแปลหนังสือของผมนั้นจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ผมสามารถเข้าไปสร้างให้นักอุตสาหกรรมได้เข้าใจและเห็นประโยชน์ชองวิชาการและทฤษฎีทั้งหลาย มีอะไรที่ทำให้เขาได้เรียนรู้และเห็นคุณค่าของความรู้เชิงวิชาการมากขึ้น และที่สุดแล้วถ้าผมสามารถสร้างให้เขาเป็น Change Agent ได้ ทำให้เขามีความเป็นนักวิจัยในกระบวนการทำงานได้ ผมหมายความว่า เขาสามารถกำหนดปัญหา (กำหนดโจทย์วิจัยได้) เสนอโครงการได้ (เสนอโครงการวิจัยได้) ทำการแก้ไขปัญหาได้ (ดำเนินการวิจัยได้) สรุปโครงการ (สรุปงานวิจัย) กระบวนการที่ผมกล่าวมานี้ นั่นคือ กระบวนการทำวิทยานิพนธ์ในการเรียนปริญญาโทนั่นเองครับ แล้ววันนี้เราเรียนกันอย่างไรก็ดูกันเอาเองครับ ถ้าได้อย่างที่ผมว่า อย่างนี้มันน่าจะเป็น Outcome มากกว่าไหมครับ แต่อาจจะไม่ได้ Output มากนัก
จุดยืนผมนั้น ผมไม่ใช่นักวิจัย แต่ผมอ่านงานวิจัย ทำวิจัยบ้างตามโอกาส ผมใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการสร้างนักวิจัย และผมก็พยายามที่จะให้อุตสาหกรรมนั้นมีจิตวิญญาณของนักวิจัยในกระบวนการทำงาน อยากให้พวกเขามีกระบวนการวิจัยเป็นพื้นฐานอยู่ในการทำงานทุกวัน ไม่จำเป็นต้องเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์เอาผลงานหรอกครับ เอาแค่ทำ Kaizen ด้วยจิตวิญญาณของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและใช้ความรู้วิชาการธรรมดาก็พอแล้ว จากนั้นก็สื่อสารความรู้ที่ได้จากการทำ Kaizen ออกไปในองค์กรของตัวเอง แค่นี้ก็ Impact แล้วครับ นี่ล่ะครับงานวิจัยที่แท้จริง ได้ผลเลยครับ ไม่ต้องตีพิมพ์ ได้เงินเลย Impact เลยครับ เพราะว่าพวกเขาถ้ามีความเป็นนักวิจัยเป็นพื้นฐานแล้ว ถ้าเขาทำไม่ได้และเกินกำลังความสามารถของพวกเขาแล้ว พวกเขาก็มาหาอาจารย์และนักวิจัยเองล่ะครับ เขาจะมาให้โจทย์วิจัยด้วยตัวเอง
แล้วอาจารย์คิดว่า ผมสนุกกับการทำหนังสือแปลหรือครับ มันคุ้มกันไหม ศักดิ์ศรีหรือคุณค่าของงานแปลมันอาจจะสู้งานวิจัยที่ตีพิมพ์ไม่ได้หรอกครับ แต้มหรือคะแนนที่คณะกรรมการประเมินผลงานที่ให้ก็ไม่เหมือนกัน หรืออาจจะไม่นับให้เลยก็ได้ ผมก็คิดเพียงแต่ว่า “เมื่อคนทั้งโลกเขาได้อ่าน ได้รู้กัน แล้วทำไมคนไทยไม่อ่านภาษาอังกฤษไปเลยล่ะ ถ้าอยากจะรู้ เมื่อไม่อ่านแล้ว เราจะตามเขาทันไหมครับ” ผมคิดว่า “ผมอยากจะทำให้เขาได้อ่านกัน” งานแปลหนังสือของผมนั้นจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ผมสามารถเข้าไปสร้างให้นักอุตสาหกรรมได้เข้าใจและเห็นประโยชน์ชองวิชาการและทฤษฎีทั้งหลาย มีอะไรที่ทำให้เขาได้เรียนรู้และเห็นคุณค่าของความรู้เชิงวิชาการมากขึ้น และที่สุดแล้วถ้าผมสามารถสร้างให้เขาเป็น Change Agent ได้ ทำให้เขามีความเป็นนักวิจัยในกระบวนการทำงานได้ ผมหมายความว่า เขาสามารถกำหนดปัญหา (กำหนดโจทย์วิจัยได้) เสนอโครงการได้ (เสนอโครงการวิจัยได้) ทำการแก้ไขปัญหาได้ (ดำเนินการวิจัยได้) สรุปโครงการ (สรุปงานวิจัย) กระบวนการที่ผมกล่าวมานี้ นั่นคือ กระบวนการทำวิทยานิพนธ์ในการเรียนปริญญาโทนั่นเองครับ แล้ววันนี้เราเรียนกันอย่างไรก็ดูกันเอาเองครับ ถ้าได้อย่างที่ผมว่า อย่างนี้มันน่าจะเป็น Outcome มากกว่าไหมครับ แต่อาจจะไม่ได้ Output มากนัก