เมื่อเช้าวันพุธที่ 1 ก.ค. ผมกำลังจะเข้าห้องประชุมอยู่พอดี คุณเล็กผู้ช่วยอาจารย์ดวงพรรณ โทรมาตามไปประชุมยุทธศาสตร์วิจัยลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน ผมก็ลืมไป กะว่าจะโดดซะแล้ว ผมก็เลยหนีประชุมไปประชุมกับ อ.ดวงพรรณดีกว่า เห็นพอดีอยู่ใกล้ๆ กัน และเห็นว่าเป็นเรื่องราวที่ผมเคยได้มีโอกาสไปร่วมให้ความคิดเห็นกับยุทธศาสตร์วิจัยลอจิสติกส์และโซ่อุปทานที่ชะอำมาก่อนหน้านี้ เห็นทีจะเป็นภาระต่อเนื่องที่จะต้องสานให้จบ
บอกจริงๆ เลยครับ เกรงใจทุกคนที่ไปร่วมให้ความคิดเห็น เพราะผมเห็นว่าไม่ค่อยจะ work เท่าไหร่หรอก ที่ work นั้นก็คือ ได้ใช้งบวิจัยอาจารย์และนักวิจัยมีงานวิจัยทำ ผมพูดแรงไปหรือเปล่า อย่างไรก็ตามผมก็เอาด้วยล่ะครับ แต่ต้องแสดงความเห็นอีกด้านบ้างนะครับ คงจะไม่ว่ากันมากนะครับ ขอสักทีเถอะ แต่ถ้าผมเป็นอาจารย์ดวงพรรณและ ส.ก.ว+ว.ช. ผมก็จะต้องทำอย่างนี้แหละครับ เมื่อมันมีโอกาส
ผมว่านักวิจัยบางท่านก็อาจจะไม่คิดเหมือนผม เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้เสมอครับ มันมีหลายมุม ผมว่าที่เราทำๆ ยุทธศาสตร์ไปนี่ มันดูผิวๆ ไปหน่อย ปัญหางานวิจัยเมืองไทยนี่มันลึกและหลากมิติมากกว่านี้เยอะ ถ้าเราจะมาบอกว่าให้ทำยุทธศาสตร์วิจัยลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นตัวอย่างไปก่อน แล้วจะนำเอาไปใช้เป็นตัวอย่างในงานวิจัยสาขาอื่นๆ ผมว่าทางส.ก.ว และ ว.ช.ก็คิดผิดแล้วล่ะครับ มันผิดสาขาเสียแล้ว ในความคิดผมนะครับ ประเด็นคือ กลุ่มนักวิจัยลอจิสติกส์และโซ่อุปทานนี้ ส่วนมากเป็น Young Blood ในสาขาวิชาใหม่ ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเวทีหรือบริบทการวิจัยของเมืองไทย เอาเป็นว่าเป็นคนรุ่นใหม่ก็แล้วกัน แต่ด้วยความเป็น Multidisciplineของลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเองนั้นก็ยังเป็นปัญหาให้กับกลุ่มงานวิจัยในด้านนี้ในมุมที่เป็น Applicationsที่มีความหลากหลายของบริบทมากและมีความเป็นบูรณาการของสิ่งแวดล้อมอย่างซับซ้อนอยู่มาก ผมว่าทางสกว.และทางวช.เองอาจจะเลือกสาขาการวิจัยมาทำเป็นยุทธศาสตร์ตัวอย่างผิดไป
แต่ว่าไปแล้วก็ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายกลุ่มนักวิจัยเลือดใหม่ใน New Discipline หรือสาขาวิชาการใหม่ กับรูปแบบการทดลองใหม่ แต่ประเทศไทยเองมีงานวิจัยและกลุ่มนักวิจัยที่เป็นนักวิจัยมืออาชีพในสาขาอื่นๆ อีกมากมายที่มีประสบการณ์อย่างโชกโชน เพื่อจะหากรณีศึกษาและหารูปแบบในการสร้างยุทธศาสตร์งานวิจัยได้เป็นอย่างดีและมีข้อมูลที่เพียงพอซึ่งมากกว่าสาขาลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน ซึ่งในสภาพความเป็นจริงก็ยังหาตัวตนที่ Solidได้ยังไม่แข็งแกร่งพอ ยังต้องรอการพัฒนาให้ได้รับการยอมรับของวงการอุตสาหกรรมอีกพอสมควร ตรงนี้อาจจะเป็นจุดอ่อนเองของการพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทานที่ต้องการให้เป็น Genericเพราะเราต้องยอมรับว่า พวกเราในวงการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานกันเองและทั่วโลกก็ยังถกเถียงกันถึงเรื่องตัวตนและความหมายที่ควรจะได้รับการยอมรับกันในวงกว้างกันอยู่ แต่กลับมาเลือกเอาสาขาลอจิสติกส์มาเป็นตัวทดลอง แต่ก็ดีแล้วล่ะครับ พวกเราจะได้มีงานทำ และเป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินงานของธุรกิจและในการพัฒนาประเทศด้วย
บอกจริงๆ เลยครับ เกรงใจทุกคนที่ไปร่วมให้ความคิดเห็น เพราะผมเห็นว่าไม่ค่อยจะ work เท่าไหร่หรอก ที่ work นั้นก็คือ ได้ใช้งบวิจัยอาจารย์และนักวิจัยมีงานวิจัยทำ ผมพูดแรงไปหรือเปล่า อย่างไรก็ตามผมก็เอาด้วยล่ะครับ แต่ต้องแสดงความเห็นอีกด้านบ้างนะครับ คงจะไม่ว่ากันมากนะครับ ขอสักทีเถอะ แต่ถ้าผมเป็นอาจารย์ดวงพรรณและ ส.ก.ว+ว.ช. ผมก็จะต้องทำอย่างนี้แหละครับ เมื่อมันมีโอกาส
ผมว่านักวิจัยบางท่านก็อาจจะไม่คิดเหมือนผม เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้เสมอครับ มันมีหลายมุม ผมว่าที่เราทำๆ ยุทธศาสตร์ไปนี่ มันดูผิวๆ ไปหน่อย ปัญหางานวิจัยเมืองไทยนี่มันลึกและหลากมิติมากกว่านี้เยอะ ถ้าเราจะมาบอกว่าให้ทำยุทธศาสตร์วิจัยลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นตัวอย่างไปก่อน แล้วจะนำเอาไปใช้เป็นตัวอย่างในงานวิจัยสาขาอื่นๆ ผมว่าทางส.ก.ว และ ว.ช.ก็คิดผิดแล้วล่ะครับ มันผิดสาขาเสียแล้ว ในความคิดผมนะครับ ประเด็นคือ กลุ่มนักวิจัยลอจิสติกส์และโซ่อุปทานนี้ ส่วนมากเป็น Young Blood ในสาขาวิชาใหม่ ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเวทีหรือบริบทการวิจัยของเมืองไทย เอาเป็นว่าเป็นคนรุ่นใหม่ก็แล้วกัน แต่ด้วยความเป็น Multidisciplineของลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเองนั้นก็ยังเป็นปัญหาให้กับกลุ่มงานวิจัยในด้านนี้ในมุมที่เป็น Applicationsที่มีความหลากหลายของบริบทมากและมีความเป็นบูรณาการของสิ่งแวดล้อมอย่างซับซ้อนอยู่มาก ผมว่าทางสกว.และทางวช.เองอาจจะเลือกสาขาการวิจัยมาทำเป็นยุทธศาสตร์ตัวอย่างผิดไป
แต่ว่าไปแล้วก็ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายกลุ่มนักวิจัยเลือดใหม่ใน New Discipline หรือสาขาวิชาการใหม่ กับรูปแบบการทดลองใหม่ แต่ประเทศไทยเองมีงานวิจัยและกลุ่มนักวิจัยที่เป็นนักวิจัยมืออาชีพในสาขาอื่นๆ อีกมากมายที่มีประสบการณ์อย่างโชกโชน เพื่อจะหากรณีศึกษาและหารูปแบบในการสร้างยุทธศาสตร์งานวิจัยได้เป็นอย่างดีและมีข้อมูลที่เพียงพอซึ่งมากกว่าสาขาลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน ซึ่งในสภาพความเป็นจริงก็ยังหาตัวตนที่ Solidได้ยังไม่แข็งแกร่งพอ ยังต้องรอการพัฒนาให้ได้รับการยอมรับของวงการอุตสาหกรรมอีกพอสมควร ตรงนี้อาจจะเป็นจุดอ่อนเองของการพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทานที่ต้องการให้เป็น Genericเพราะเราต้องยอมรับว่า พวกเราในวงการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานกันเองและทั่วโลกก็ยังถกเถียงกันถึงเรื่องตัวตนและความหมายที่ควรจะได้รับการยอมรับกันในวงกว้างกันอยู่ แต่กลับมาเลือกเอาสาขาลอจิสติกส์มาเป็นตัวทดลอง แต่ก็ดีแล้วล่ะครับ พวกเราจะได้มีงานทำ และเป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินงานของธุรกิจและในการพัฒนาประเทศด้วย
ผมคิดว่าเหล่านักวิจัยในสาขาลอจิสติกส์และโซ่อุปทานก็เต็มใจครับที่จะเป็นแนวหน้าในการทดลอง แต่ผมกลับมองว่าพลังของกลุ่มงานวิจัยในสาขานี้ลอจิสติกส์และโซ่อุปทานนั้นยังเล็กอยู่มากๆ เมื่อเทียบกับสาขาอื่นๆ ที่มีประวัติการพัฒนาและสร้างชื่อเสียงมาแล้วทั่วโลกจนนักวิจัยหลายท่านได้รับการยอมรับไปทั่วโลก เออ! ทำไมถึงไม่ไปเริ่มทำกันที่ตรงนั้น ทำไมมาเริ่มที่สาขาใหม่ที่ยังเล็กอยู่ โดยพื้นฐานในบริบทงานวิจัยก็ยังมีไม่มากพอ นี่ผมพูดแบบไม่ได้เข้าข้างตัวเองนะครับ ผมพยายามมองถึงประโยชน์ที่หน่วยงานอย่าง สกวหรือวช.น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า ผมคงจะไม่ได้นึกแค่ว่า เอามาให้ลอจิสติกส์ทำน่ะดีแล้ว ที่จริงก็ดีเหมือนกัน สาขาลอจิสติกส์และโซ่อุปทานจะได้มีโอกาสและโตได้ซะที ผมเป็นอาจารย์ดวงพรรณและมีโอกาสอย่างนี้ ผมก็ทำเหมือนกันและก็จะต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาทำด้วย แต่ถ้าผมเป็นสกวหรือวช ผมจะไม่เลือกเอาสาขาลอจิสติกส์มาทำเป็นยุทธศาสตร์วิจัยตัวอย่าง
ตอนที่เข้าไปประชุมนั้น ได้มีโอกาสเจอหลายคนที่ไม่ได้เจอตั้งนาน เหมือนเป็นการคืนสู่เหย้ากัน งานนี้ผมไม่ได้พูดอะไรมากมายนัก แต่ก็โดนแซวหน่อย ผมสัญญากับตัวเองว่าจะพูดให้น้อยหน่อย ฟังเยอะๆ แต่ก็ดีใจนะครับที่อาจารย์ดร.สมพงษ์ยังจำจุดยืนหรือมุมมองของผมที่มีต่องานวิจัยในเมืองไทยได้ ต้องขอบคุณอาจารย์สมพงษ์มากๆ เพราะผมพูดในหลายๆ แห่งว่า “ต้องพัฒนานักอุตสาหกรรมให้มาอ่านงานวิจัย ให้เข้าใจงานวิจัย แล้วจึงทำให้เขาเป็นผู้บริหารงานวิจัยและเป็นผู้วิจัยเองในที่สุด”ผมว่าถ้ามาทำกันแบบนี้นะครับ ไปไม่ถึงดวงดาวหรอกครับ เราก็จะมีนักวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ และถ้าเรามีเงินวิจัยที่ถูกจัดสรรงบประมาณออกมาอยู่เรื่อยๆ นะครับ แต่อาจจะไม่มีการนำเอางานวิจัยออกไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็เพราะว่าพวกเขานักอุตสาหกรรมทั้งหลายไม่ได้ได้เห็นคุณค่าของงานวิจัย เพราะเขาไม่เข้าใจในกระบวนการวิจัย และไม่ได้คิดว่างานวิจัยนั้นจะมีประโยชน์ต่อตัวพวกเขาอย่างไร ผมเห็นว่า “งานวิจัยเริ่มที่อุตสาหกรรม (Users) และจบที่อุตสาหกรรม (Users) ไม่ได้เริ่มที่นักวิจัยหรือ สกว. หรือวช. “แต่ก็ไม่ผิดที่ยุทธศาสตร์วิจัยจะเริ่มที่นักวิจัยและสกวและวช.ก่อนในตอนเริ่มต้น แต่ในอนาคตวงรอบของการพัฒนาจะต้องกลับเริ่มที่อุตสาหกรรมและจบที่อุตสาหกรรมตามวัฏจักร ส่วนนักวิจัยและสกว.และวช.ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของวัฏจักรกระบวนการวิจัย
ผมเชื่อว่าถ้าอุตสาหกรรมยังไม่คิดหรือสนใจที่จะอ่านงานวิจัยหรือเห็นประโยชน์จากงานวิจัย ผมว่าเราทำวิจัยไปก็อาจจะเสียเปล่า หลายท่านอาจจะเถียงว่า ไม่ได้นะเราจะต้องสร้างงานวิจัยของตนเอง เป็นองค์ความรู้ของเราเอง ผมเองก็ไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เราเรียกว่าองค์ความรู้ของเราเองนั้น มันเป็นอย่างไร แล้วองค์ความรู้ของฝรั่งหรือที่ผมและคนอื่นๆ ไปลอกมาหรือแปลมานั้น มันใช้ไม่ได้หรือ ผมว่าองค์ความรู้นั้นมันเป็นสากลนะครับ ยิ่งคนทั่วโลกเขารู้อะไรแล้ว ถ้าเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจแล้ว เราก็คงตามเขาไม่ทัน แล้วจะมาเสียใจกันภายหลัง ผมคิดว่าการที่สนับสนุนให้นักวิจัยสร้างองค์ความรู้ของเราเองนั้น ผมมีความรู้สึกว่าเหมือนเราจะพยายามที่ตัดตัวเองออกจากระแสโลก แล้วให้หันมาพึ่งตนเองหรือดูตนเองมากขึ้น ผมเองก็คิดเช่นนั้นเหมือนกัน แต่การสร้างองค์ความรู้ของตนเองนั้น ผมเข้าใจว่า เราเองจะต้องเข้าใจตัวเองให้มากขึ้น แต่ก็จะต้องไม่ทิ้งองค์ความรู้ที่เป็นสากล องค์ความรู้ระดับโลกที่เขาใช้กัน องค์ความรู้ที่เขาเผยแพร่กัน เราจะต้องทุ่มเทกันทั้งสองด้าน ทั้งด้านที่คนอื่นๆ เข้ารู้กัน ต้องรู้ให้เท่าทันทันกระแสโลก อย่าคิดว่าเราเองดีกว่า วิถีไทยหรือวิถีตะวันออกดีที่สุด นั่นจะดูประมาทไปหน่อย แล้วสิ่งที่สำคัญคือ เรานั้นไม่รู้จักตัวเองเลยก็ว่าได้ ไม่มีข้อมูลอะไรเลย ถ้าอยากรู้อะไรที่เกี่ยวกับตัวเอง มันน่าอายไหม ที่บางครั้งเราอาจจะต้องไปซื้อข้อมูลนั้นจากฝรั่งหรือญี่ปุ่น ประเด็นนี้ต่างหากที่เราอ่อนแอยิ่งนัก ยังไม่ต้องคิดจะไปบุกไปนอกบ้านเลย จัดการตัวเองกันง่ายๆ พื้นฐานอย่างนี้ ก็ยังจะไม่รอดกันเลย เพราะว่าส่วนหนึ่งพวกเรานักอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเองนั้นไม่มีพื้นฐานแนวคิดในเชิงวิจัยหรือวิเคราะห์การเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปสร้างประโยชน์ให้กับตนเองในการทำธุรกิจ