ที่จริงแล้วผมก็หากินกันอยู่ตรงนี้ล่ะครับ ได้เห็นได้ยินกันมานานนับสิบ เขียนกันอย่างนี้พูดกันอย่างนี้มานานแล้ว ผมเพิ่งจะมาคิดตีความและทำความเข้าใจในความหมายและการใช้งานของสองคำนี้ ไม่ไงจะประดิษฐ์คำว่าลอจิสติกส์ขึ้นมาทำไม ถ้ามันไม่แตกต่างกัน แล้วถ้าวางตำแหน่งก่อนหน้าสลับหลังแล้ว มีความหมายเหมือนกันมันก็จะกระไรอยู่ น่าจะผิดหลักภาษาหรือไม่ก็ไม่รู้ คำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาก็คงจะเปล่าประโยชน์ไปอีก คงไม่สามารถใช้ในการสื่อสารได้ครบถ้วนและได้กว้างขวางตามที่ต้องการ ในภาษาอังกฤษนั้น คำนามหลักคือ ตัวหลัง คำขยายคือ ตัวหน้าครับ ส่วนภาษาไทยตรงกันข้ามกันครับ
Transport Logistics คือ ลอจิสติกส์การขนส่ง เป็นมุมมองของลอจิสติกส์ซึ่งเป็นกิจกรรมในภาพใหญ่ที่ดูแลการไหล การเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดเก็บสินค้าเพื่อเป้าประสงค์ คือ การนำพาคุณค่าที่อยู่ในรูปแบบของสินค้าและบริการไปให้ถึงมือลูกค้าหรือผู้ใช้ประโยชน์จากคุณค่าที่จะได้รับไป นั่นคือ ลอจิสติกส์ที่มอง End to End แต่ Transport Logistics นั้นควรจะเป็นลอจิสติกส์ที่มอง End to End โดยที่มุ่งเน้นลงไปที่ส่วนของการขนส่งที่จะมีผลในภาพรวม End to End นั่นคือ มองใหญ่ก่อน มองตั้งแต่ต้นจนถึงมือลูกค้า เป้าหมายลูกค้าต้องได้รับของหรือสินค้าและบริการ แล้วคิดว่าจะจัดการกับส่วนการขนส่งอย่างไรเพื่อให้ End to End ที่ว่านี้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ ประเด็นไม่ใช่จัดการการขนส่งให้ถึงผู้รับของหรือสินค้า แต่เป็นประเด็นที่จัดการการขนส่งที่จะทำให้มั่นใจว่าลูกค้าได้รับสินค้า ดังนั้นเราก็จะมี Purchasing Logistics, Manufacturing Logistics, Warehouse Logistics, Distribution Logistics, Retail Logistics ด้วย ที่มีเป้าหมายเดียวกัน มุมมองจะเป็นการมองแบบช้างทั้งตัวหรือ Holistic View แล้วพยายามปรับองค์ประกอบภายในตัวใดตัวหนึ่งซึ่งก็จะมีผลกระทบกับตัวอื่นๆ ด้วย ดูที่ ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างองค์ประกอบภายในลอจิสติกส์ และสุดท้ายก็จะมีผลกระทบต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างไรบ้าง
ส่วน Logistics Transport นั้นแตกต่างกันครับ คือ “ขนส่งเชิงลอจิสติกส์” คำนามหลักก็ คือ Transport เป้าหมายหลักก็คือ การขนส่งที่สุดของการ Transport ก็คือที่หมายหรือสถานที่และมีคนมารับของหรือสินค้าไป ไม่จำเป็นจะต้องเป็นลูกค้าผู้ที่ใช้ของนั้น ดังนั้นขอบข่ายของ Transport จึงเล็กและแคบกว่า Logistics มากยิ่งนัก แต่เมื่อมี คำว่า Logistics มาเป็นคำขยายอยู่ข้างหน้าแล้วเป็น Logistics Transport นั่นหมายความว่า การจัดการขนส่งนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เห็นหรือมองแบบต้นจนปลายในมุมของลอจิสติกส์ แต่ในการจัดการขนส่งจากต้นทาง (Start) ไปยังปลายทาง (Stop) นั้น ผู้จัดการขนส่งก็ได้ใช้ข้อมูลที่มาจากระดับการจัดการลอจิสติกส์แบบ End to End มาเป็น information เพิ่มเติมเข้าไปในการจัดการขนส่งอีก จึงทำให้การจัดการขนส่งสินค้าหรือคุณค่าจากต้นทางจนไปถึงปลายทางการขนส่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าในภาพรวมได้
เมื่อมีการมองแบบลอจิสติกส์แล้ว ก็ต้องมี Logistics Transport และ Transport Logistics ขึ้นมาพร้อมๆ กันเสมอ เพียงแต่ว่าจะมองในระดับไหน ในระดับบินสูง (End to End) ในระดับลอจิสติกส์ หรือ ในระดับบินต่ำจุดต้นทาง (Start) จนถึงปลายทาง (Stop) ในระดับกิจกรรมที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ ภายในของลอจิสติกส์ ดังนั้น Model และข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจก็แตกต่างกันออกไป แต่ที่สุดแล้วมันจะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดความเป็นองค์รวมในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองที่ผมเฝ้าสังเกตมานาน แต่ยังไม่เห็นมีใครฟันธงลงไปชัดๆ เท่าที่เห็นทำๆ กัน ส่วนมากจะเป็น เรื่องของ Logistics Transport มากกว่า เพราะยังคงใช้ Model ของ Transportation เดิมได้หรือ Models ต่างๆ ใน OM functions (Operations Management) เพียงแต่ใส่ข้อมูลใหม่ที่ผ่านการวิเคราะห์ในเชิงลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเข้าไปก็น่าจะใช้ได้เลย แต่ Model ของ Logistics ที่เป็นองค์รวมนี้ยังไม่ค่อยเห็นนะครับ Model กันยากเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับกรณีศึกษาด้วย ผมคิดว่ามันคือ System Thinking Model หรือ System Dynamics มากกว่า จึงเลยนำเสนอให้เพื่อนๆ ลอง Comment กันมาบ้าง เผื่อว่ามันน่าจะมีจุดบกพร่องทางความคิดตรงไหนบ้าง แต่ถ้าทำ OM function ได้ดีแค่ไหนก็เป็นแค่ Local Optimization ถ้าจะให้คิดแบบลอจิสติกส์และโซ่อุปทานแล้วจะต้องคิดแบบ Global Optimization
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
Basic : Logistics Transport และ Transport Logistics นั้นต่างกันอย่างไร ?
08:42
การขนส่ง, การเคลื่อนย้ายสินค้า, การจัดเก็บสินค้า, ลอจิสติกส์, Basic, logistics, Model, Transport