วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

Basic : Logistics แตกต่างจาก Operations Management (OM) อย่างไร?

ถ้าเราไปดูหนังสือ Operations Management และ Logistics Management ในระยะ 10-15 ปี ที่ผ่านมา เราอาจจะพบว่า มันเหมือนกันมาก  แล้วมันต่างกันอย่างไร  เพราะว่าเราก็เรียกชื่อต่างกัน    พอได้มีโอกาสไปสอนหนังสือ เรื่องราวเบื้องต้นของ Logistics and Supply Chain Management อีกครั้งหนึ่ง    ก็ยิ่งจะต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งเข้าไปอีก  เพราะว่าน่าจะมีคำถามเด็ดๆ ออกมาจากชั้นเรียนบ้าง  เพราะว่าสองเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เสียแล้ว    ยิ่งวิชา OM หรือ Operations Management ยังคงอยู่ในท้องตลาดวิชาการด้วยแล้ว   แล้วเราจะหาความแตกต่างระหว่าง การจัดการ Inventory ในมุมลอจิสติกส์  และในมุมของ Operations Management ได้อย่างไร
                       
หลายๆ แห่งในระดับปริญญาโท MBA ก็เรียนกันทั้งสองวิชาเลย  ทั้ง Logistics และ OM  ซึ่งก็มีเนื้อหาวิชาและหัวข้อแทบจะเหมือนกัน  แน่นอนครับ  เหมือนกัน   กลับไปดูหนังสือ Textbook ฝรั่งก็เช่นกัน   มีหัวข้อเหมือนกัน  แต่ก็ยังไม่มีคำอธิบายได้ชัดเจนเท่าไรนัก   ผมก็พยายามจะหาเหตุผลและกลับไปดู Definitions  ต่างๆ ให้ครบถ้วนมากขึ้น   เพราะถ้าบอกกันว่า  Inventory Management ในลอจิสติกส์กับ  Inventory Management ใน OM  นั้นไม่เหมือนกันก็ไม่ใช่   เหมือนกันก็ไม่ใช่อีกเช่นกัน   นั่นแสดงว่าจะต้องมีส่วนที่เหมือนกัน  และแตกต่างกัน   แต่ผมว่ามีส่วนที่เหมือนกันเป็นส่วนใหญ่เลยล่ะครับ
สิ่งที่เหมือนกันอย่างแน่นอนก็ คือ การสร้าง Model ต่างๆ ในการตัดสินใจแต่ละเรื่องสำหรับ Functions ต่างๆ ใน OM นั้นในหนังสือ Logistics และ OM นั้นแทบจะเหมือนกันก็ว่าได้  ประเด็นในหนังสือ OM จะเน้นเป็น Function ใน OM หรือใน Supply Chain ว่ามีอะไรบ้าง  แต่ละเรื่องมีการสร้าง Model การตัดสินใจอย่างไรบ้าง ใช้ข้อมูลอะไร?   OM จะมอง Functions เป็น Silos   เป็นเรื่องๆ ไป แต่ในมุมลอจิสติกส์นั้นควรจะเน้นว่า  ข้อมูล Input ที่ใช้ในการ Executing  Model นั้น เชื่อมโยงและเชี่อมต่อกันมาจากไหนและอย่างไร   และผลลัพธ์ Output ของ Model  จะไปเป็น Input ให้อีก Model หนึ่งอย่างไร   จะตอบสนองและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร
                   
Logistics จะมองการเชื่อมโยง Functions ใน OM ให้เป็น Process หรือ Streamline โดยที่มี Customer Demand และ Customer Value เป็น ตัวผลักดัน   เวลาเราเรียน OM  เราเรียนเป็นเรื่องๆ    แต่ในเวลาปฏิบัติงานจริงๆ  เราปฏิบัติเป็น Process ที่มี Functions ต่างๆที่ถูกเชื่อมต่อกัน    แต่ในตำรา  OM  ไม่ได้เน้นมากนัก หรือไม่ได้เน้นเลย  ส่วนมากจบในบทๆหนึ่ง  ในขณะเดียวกัน  ผมเองก็ยังไม่เห็นหนังสือลอจิสติกส์เล่มไหนที่เน้นไปที่กระบวนการอย่างที่ผมได้กล่าวไป เพราะอ่านไปอ่านมาก็เหมือนๆกับหนังสือ OM เล่มหนึ่ง
                     
ในชีวิตจริงเราก็ไม่ได้เน้นแบบแนวคิดลอจิสติกส์กันเลย   เราทำแบบ OM  ที่เราได้เรียนเป็นเรื่องๆ    แล้วต่างคนก็ต่างทำ   คนทำ Demand ก็ทำไป   ไม่ต้องคุยกับ  คนทำ Supply     ไม่ได้ทำงานร่วมกัน (Collaboration) ชีวิตจริงมันไม่ได้เป็นกระบวนการที่ดีหรือมีประสิทธิภาพเลย   จึงต้องมีแนวคิดลอจิสติกส์หรือแบบกระบวนการที่มองเป็น End to End มากขึ้น
                     
ดังนั้น  OM  กับ Logistics นั้นโดยเนื้อแท้แล้วเป็นเรื่องเดียวกัน   เพียงแต่ใส่มุมมองแบบกระบวนการและความเป็นองค์รวม (Holistic) ลงไปใน OM  เราก็จะได้ความเป็นลอจิสติกส์ขึ้นมาก  ให้สังเกตว่า  ความเป็นลอจิสติกส์นั้น  ทำงานร่วมกันมากขึ้น   ลูกค้าตอบสนองมากขึ้น   กำไรมากขึ้นต้นทุนลดลง  แต่ก็อย่าลืมว่า  นั่นเป็นเพราะมีการจัดการโซ่อุปทานกันมาก่อน