วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Shanghai Expo 2010 - Part 6 Theme Pavilion

ในตอนที่แล้วผมเล่าให้ฟังเรื่องของ China Pavilion ซึ่งเป็น National Pavilion ของจีนประเทศเจ้าภาพงาน Pavilion นี้จึงจะต้องมีจุดเด่นที่สามารถเป็น Landmark ของงานได้ ที่จริงแล้วยังมี Theme Pavilion อีกที่น่าสนใจตามแนวคิดของการจัดงาน World Expo 2010 ผมได้เข้าชมบาง Theme Pavilion มาแล้ว ซึ่งดูจะไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก เพราะไม่ค่อยมีแถวคอยรอคิว ไม่เหมือน China Pavilion หรือ Pavilion ของประเทศใหญ่ๆ เนื่องจากผมพอจะมีความรู้และเข้าใจในความหมายของงาน World Expo ครั้งนี้ที่ว่า Better City, Better Life จากการอ่านตามที่ได้เล่าไป จึงมุ่งหน้าไปยัง Theme Pavilion เหล่านี้ เพราะคิดว่าสิ่งที่จะได้รับน่าจะมีผลต่อการใช้ชีวิตของเราในอนาคตมากกว่าหรือเพื่อการต่อสู้แข่งขันในชีวิตและธุรกิจ ถ้าไม่ได้สู้เพื่อตัวเอง ก็อาจจะต้องต่อสู้หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อครอบครัวและลูก หรือถ้าจะกล่าวให้เป็นภาพลักษณ์ที่ดีหน่อย ก็ต้องบอกว่าเพื่อสังคมส่วนและประเทศชาติ เป็นไงครับ พอจะดูเป็นคนมีภาพลักษณ์เพื่ออุดมการณ์บ้างไหม

Theme Pavilion จะเป็นสิ่งที่เป็นพาหนะในการสื่อสารให้เข้าถึงแก่นสำคัญของงาน World Expo 2010 ที่ เซี่ยงไฮ้ ให้กับคนจีนและคนชาติ
ต่างๆ ที่เข้าชมงาน สถาปานิกและนักวางแผนจากทั่วโลกได้ถูกเชิญให้มาร่วมในการออกแบบและก่อสร้าง Theme Pavilion ต่างๆ นี้ สำหรับตัว Theme Pavilion นั้นมี Sub-Pavilion เชื่อมต่อกันอยู่ภายใน และเป็นอาคารนิทรรศการขนาดใหญ่ที่มีนวัตกรรมการสร้างโดยไม่มีเสากลาง ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมเชิงนิเวศและมีการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ ทั้งยังมีการการออกแบบต่างๆมากมายที่จะประหยัดพลังงานและลดการ Emission หลังจากงานจบลงแล้ว ตัว Pavilion ก็จะกลายไปเป็นศูนย์แสดงนิทรรศการนานาชาติ Theme Pavilion มีไว้สำหรับแสดงแนวคิด (Concept) อย่างเดียวเท่านั้น โดยปราศจากการชักชวนเพื่อการลงทุนหรือการประชาสัมพันธ์ประเทศ Theme Pavilion ได้ถูกชี้นำโดยพันธกิจเพื่อที่ถ่ายทอดแก่นสาร (Theme) ของงานและส่วนเพิ่มเติมด้วยการออกแบบที่หลากหลายและมีชีวิตชีวาสำหรับประสบการณ์ในการเข้าชมงาน Theme Pavilion จะทำให้ผู้เข้าชมต้องบอกต่อๆ กันถึงประสบการณ์ที่ทำให้รู้ชัดยิ่งขึ้นของ Theme เมือง และชีวิตที่อยู่ในเมือง

Theme Pavilion ของงาน World Expo ที่เซี่ยงไฮ้ มีแนวคิดอยู่ 5 ประการ คือ คน (People), เมือง (Cities), โลก (The Earth), ร่องรอย (Footprint) และความฝัน (Dreams) ดังนั้น งาน World Expo ที่เซี่ยงไฮ้นี้จึงมี Theme Pavilion 5 แห่ง คือ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง (Urban Dwellers) ความเป็นอยู่ของเมือง (Urban Being) และโลกของเมือง (Urban Planet) ทั้ง 3 แห่งนี้อยู่ภายในอาคารนิทรรศการแห่งใหม่ ในฝั่งผู่ตง ส่วน Pavilion ร่องรอยของเมือง (Urban Footprint) และเมืองในฝัน (Urban Dream) นั้นมี Pavilion ขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งเมืองเก่า (Puxi)


ผมได้มีโอกาสเข้า Urban Planet Pavilion ที่อยู่ฝั่งเมืองใหม่ ผู่ตง ดูตื่นตา ตื่นใจดีครับ กระตุ้นจิตสำนึกเราให้เข้าใจโลกได้ มีเทคนิคการนำเสนอและการแสดงด้วยแสง สี เสียง ที่ตื่นตาตื่นใจทีเดียว ส่วน Urban Footprint Pavilion ที่อยู่ฝั่งเมืองเก่า (Puxi) นั้นผมเดินผ่านไปก่อน เพราะมีแถวคอยรอคิวที่ยาวเกินที่ผมตั้งเป้าไว้ คิดว่าจะได้เดินย้อนมาเข้าใหม่ แต่ก็หมดเวลาเสียก่อน คราวหน้า 23-27 ก.ค. 53 ต้องไม่พลาดแน่ครับ และผมก็มีโอกาสไปเข้า Urban Dream Pavilion ที่มีลักษณะเป็นอาคารขนาดใหญ่คล้ายโรงงานหรือโรงไฟฟ้า ที่มีเสาสูงที่แสดงอุณหภูมิของอากาศในเวลานั้นเหมือนเทอร์โมมิเตอร์ขนาดใหญ่ ก็นับว่าเป็น Pavilion ที่สร้างแรงบันดาลใจสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในอนาคต พร้อมๆ กับเทคนิคการนำเสนอที่มีชีวิตชีวามากๆ

คราวนี้ลองมาดูกันว่าจากที่ผมค้นคว้ามาได้ ในแต่ละ Theme Pavilion หลักๆ นั้นมีอะไรบ้าง มาที่แรกเลยครับ
The Urban Dweller Pavilion เป็น Pavilion ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในเมืองที่ผู้คนใช้ชีวิตอยู่ คุณภาพชีวิตในเราโดยทั่วไปจึงหมายถึงการมีอาหารการกินที่พอเพียง เครื่องนุ่งห่ม และความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ที่จริงแล้วมันก็คือ ปัจจัย 4 ของมนุษย์ด้วยนั่นล่ะครับ ความหมายที่ 2 ยังหมายถึงการได้รับการปฏิบัติด้วยการให้เกียรติกัน มิตรภาพและความรัก สุดท้ายแล้ว ยังมีความหมายถึงการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-actualization) และการข้ามพ้นตัวเอง (Self-transcendence) The Urban Dweller Pavilion จะตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องการ 3 อย่างที่กล่ามาในฐานะที่เป็นเสมือนเส้นด้ายยืนและใช้อีกหลายๆ ส่วน เช่น การบูรณาการ การอยู่รอด การสัมผัส และการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง มาถักทอรวมกันเพื่อที่สำรวจว่าเมืองจะทำให้ผู้คนในเมืองพึงพอใจได้อย่างไร? เมืองจะมีผลต่อการใช้ชีวิตในเมืองได้อย่างไร? และเมืองจะบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนในเมืองได้อย่างไร?

ส่วนใน
The Urban Beings Pavilion จะมองเมืองเป็นเหมือนสิ่งที่มีชีวิตประดิษฐ์หรือเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของระบบธรรมชาติซึ่งประกอบไปด้วยสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมกลุ่ม เมืองๆ หนึ่ง ก็คือ สิ่งมีชีวิตประดิษฐ์ เมื่อเมืองได้พัฒนาไปจนถึงระดับหนึ่งแล้ว เมืองก็จะมีกฎของตนเองในการพัฒนาและมีการดำเนินการของตนเอง เหมือนกับร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ในเวลาเดียวกัน เมืองก็มีอารมณ์และวิญญาณ เมืองก็เป็นส่วนหนึ่งของอาระยธรรมของมนุษย์ชาติที่จับต้องไม่ได้ Pavilion นี้ได้ใช้ชีวิตของมนุษย์เป็นเสมือนเส้นด้ายยืน ด้วยการทำการสำรวจโดยทั่วไปในประวัติศาสตร์ของเมือง การแบ่งส่วนเพื่อที่จะศึกษาโครงสร้างของชีวิตและวิญญาณ เพื่อที่จะค้นหาศักยภาพของชีวิตในเมือง

สำหรับ
The Urban Planet Pavilion แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อชีวิตในเมืองที่มีต่อโลก ด้วยการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรเมืองของโลก และการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของขนาดและจำนวนของเมืองต่างๆ ทั่วโลก ขนาดของแผ่นดินและท้องทะเลซึ่งมีอิทธิพลต่อความยั่งยืนที่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ (ทั้งนี้ยังรวมถึงการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและการซึมซับการปล่อยพลังงานออกมาของของเสียของมนุษย์) ที่กำลังถูกขยายผลอย่างต่อเนื่อง Pavilion นี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ การแผ่ขยายและแพร่กระจาย (Expansion and Spread) บ้านที่หายไป (Lost Home) ความท้าทายและโอกาสของเมือง (City Challenges and Prospects) และการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน (Symbiosis and Win-Win) ทั้ง 4 ส่วนนี้โดยส่วนรวมแล้วแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในเชิงการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์ที่มีชีวิต เมือง และทุกสิ่งบนโลก และได้แสดงให้เห็นว่าโลกที่ดีกว่าในอนาคตต้องการความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ของประเทศทั้งหมดในโลก และความพยายามของสังคมมนุษย์ที่เห็นพ้องร่วมกัน

The Urban Dreams Pavilion เริ่มมาจากความใฝ่ฝันที่ไม่รู้จบ (Eternal dream) วิถีแห่งอนาคต (Way of The Future) และความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด (Infinite Possibilities) เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงจินตนาการของผู้คนที่เกี่ยวกับเมืองในอนาคต การแสวงหาชีวิตที่งดงามซึ่งเป็นความมุ่งมาดปรารถนาของมนุษยชาติ เมื่อเราจินตนาการถึงอนาคตในปัจจุบันแล้ว ในมุมหนึ่ง ความเป็นจริง ความท้าทาย และวิกฤตการณ์ซึ่งผู้คนมีอยู่ในเมืองต่างๆ ได้ทำให้ผู้คนต้องมองหาทางออกอย่างร้อนรน ในอีกมุมหนึ่ง กำลังความสามารถเชิงนวัตกรรมซึ่งไม่รู้จักสิ้นสุดของผู้คนและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก็ยังได้นำพาผู้คนไปสู่เมืองในอนาคตซึ่งยากที่จะเชื่อว่าจะเป็นไปได้

The Urban Footprint Pavilion โดยหลักๆ แล้ว Pavilion นี้แสดงถึงร่องรอย (Footprint) ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ว่าผู้คนในอดีตนั้นอาศัยอยู่กับเมืองของพวกเขาและสิ่งแวดล้อมอย่างกลมกลืนกันอย่างไรบ้าง เมืองได้เป็นสักขีพยานของการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าและกระบวนการของการสร้างอารยธรรมของมนุษย์ Pavilion นี้ได้ใช้การแสดงนิทรรศการอย่างเลอเลิศในการอธิบายร่องรอยของอารยะธรรมเมืองของมนุษยชาติ

เท่าที่ผมสังเกตการณ์และได้สัมผัส ผู้คนที่ได้ไปงาน Expoมา จะไม่ค่อยได้กล่าวถึง Theme Pavilion เหล่านี้เท่าไรนัก (สังเกตจากบทความในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ในช่วงนี้) เพราะว่า Theme Pavilion อาจจะไม่ได้โด่งดังหรือสามารถสัมผัสได้ง่ายเหมือนกับ National Pavilion ของประเทศใหญ่ๆ ที่คนเข้าแถวรอคอยเยอะๆ อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะสนับสนุนให้พวกเราที่มีโอกาสไปงาน Expo ให้หาโอกาสแวะเข้าไปชม Theme Pavilion เท่าที่ผมได้ไปชมมา คนไม่เยอะครับ ไม่แน่น บ้างก็ไม่มีคิว แล้วแต่โอกาส (ช่วงเวลา) ครับ แต่ไม่เหมือน China หรือ Japan Pavilion ที่คนแน่นและมีคิวแถวรอคอย “อย่างแน่นอน” แต่ก่อนจะเข้าไปใน Theme Pavilion เหล่านี้ก็ต้องเตรียมตัวและเตรียมใจหน่อยครับ ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ก็เพราะสิ่งที่แสดงอยู่ในนิทรรศการของ Theme Pavilion นั้นค่อนข้างจะเข้าใจยากอยู่พอสมควร หรืออาจเป็นเรื่องที่ดูเหมือนไกลตัวไปบ้างหรือจับต้องไม่ได้ แต่ผมว่ามันเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด มีหลายส่วนเป็นปัจจุบันจริงๆ ที่เราประสบอยู่ เพียงแต่ว่าเราจะยอมรับหรือไม่ บางครั้งผมยังต้องใช้ความคิดบ้างถึงจะได้ประโยชน์จากการเข้าชม นั่นหมายความว่า เราต้องคิดเยอะๆครับ แต่ถ้าไม่อยากจะคิดหรือคิดไม่ออก จะเข้าไปสัมผัสการแสดงแสงเสียงที่หลากหลายสวยงามและน่าตื่นเต้นก็ยังโอเค แต่มันก็คงไม่คุ้มค่าเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาชมหรอกครับ ซึ่งจริงๆ แล้วเราก็ควรจะเก็บเกี่ยวอะไรๆ ไปบ้าง

Theme Pavilion นี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผมหลายๆ อย่าง ทำให้ผมต้องกลับไปคิดและสะท้อนเรื่องราวและความรู้ต่างๆ ที่เราได้ประสบมา เมื่อผมกลับมายังเมืองฟ้าอมรที่ชื่อกรุงเทพฯ แล้ว ชีวิตและการใช้ชีวิตของผมในเมืองกรุงเทพฯ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็ต้องดูต่อไป อย่างน้อยความมั่นใจในองค์ความรู้ทางด้าน Green และ Sustainable Management ที่ผมได้สั่งสมไว้ ก็คงได้นำออกมาแปรรูปเป็นองค์ความรู้สำเร็จรูปที่บริโภคหรือสามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น

เมื่อก่อนนี้ ผมได้ยินคำว่า Carbon Footprint หรือรอยย่ำ รอยเท้าคาร์บอน ผมก็เข้าใจบ้างในกระบวนการเพื่อที่จะหารอยเท้า (หรือรอยตีน) คาร์บอน แต่ผมก็ยังไม่ได้เข้าใจคำว่า Footprint อย่างลึกซึ้งมากนัก (อาจเป็นเพราะว่าผมอ่อนภาษาอังกฤษเองล่ะมังครับ) จนมางาน Expo ครั้งนี้ มีการใช้ คำว่า Footprint ใน Theme Pavilion และอีกในหลาย Pavilion เมื่อวิเคราะห์แล้วผมจึงให้ความหมายของ Footprint ว่า คือ “ร่องรอย” นั่นคือ การศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อนำไปสู่อนาคต เราเดินตามรอยเท้าสัตว์เพื่อติดตามไปสู่สัตว์ตัวนั้นๆ เพื่อล่า การหา Footprint หรือการหาร่องรอย เป็นเสมือนการประเมินตัวเอง เป็นการดูกระจกที่สะท้อนภาพในอดีต เพื่อสร้างความพร้อมหรือศักยภาพในการกระโจนหรือก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคต ดังนั้น ถ้าใครจะก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคต แล้วไม่ได้มองเห็นหรือมองหาร่องรอยของการกระทำในอดีตที่เป็นประวัติศาสตร์หรือสิ่งที่ได้ทำลงไป และรวมถึงปัจจุบันด้วย เพื่อที่จะรู้จักตัวเอง ผมก็คิดว่าก็ยากที่จะจัดการตัวเองหรือประเทศไปสู่อนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ เหมือนกับซุนวูที่กล่าวไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา” ถึงแม้จะ “รู้เขา” แต่ที่สำคัญหาก “ไม่รู้เรา” เลยก็แพ้แน่นอน หลายต่อหลายครั้งที่เราพ่ายแพ้ศึกสงคราม เราไม่ได้สู้กับข้าศึกศัตรูไม่ได้หรอก เราพ่ายแพ้ตัวเองต่างหาก เราไม่รู้จักตัวเอง เราไม่เคยหาหรือศึกษาร่องรอยของชีวิตหรือการกระทำที่ผ่านมา เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้าหรือพัฒนาปรับปรุงให้ดีกว่า เหมือนกับแนวคิด Better City, Better Life

มาวันนี้ประวัติศาสตร์ไม่เคยซ้ำรอย แต่จะเกิดขึ้นใหม่เสมอ ด้วยรูปแบบใหม่หรือรูปแบบเดิมๆ แต่ถ้าเราสามารถค้นหาหรือค้นพบร่องรอยของการกระทำของมนุษย์แล้ว ก็น่าจะทำให้เราเข้าใจตัวเองดีขึ้น ซึ่งก็จะตรงกับแนวคิดของ Theme Pavilion ในเรื่องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-actualization) เช่นเดียวกับที่คนไทยพยายามจะปรองดองกันอยู่ในเวลานี้ ให้ถามตนว่าพวกเราเข้าใจตนเอง เข้าใจคนไทยอย่างแท้จริงหรือไม่ มันคงไม่ใช่เรื่องเชื้อชาติ สีผิว หรือภาษาหรอก อย่าให้เราถูกหลอกด้วยรูปลักษณ์ทางกายภาพและสถานภาพทางสังคมในการสร้างความเป็นตัวตนของคนไทย ผมชอบหลักคิดจาก China Pavilion ที่ว่า
“ตั้งเป้าที่ความกลมกลืน แต่ไม่ใช่ความเหมือนกัน (Aiming the harmony but not uniformity)” นั่นหมายความว่า เราไม่จำเป็นที่จะต้องเหมือนกัน หรือสีเดียวกัน หรือเป็นคนสัญชาติไทยเหมือนกัน ความหมายนี้สามารถใช้ในชีวิตประจำวันเราได้ และที่สำคัญมันคือแก่นของการจัดการโซ่อุปทานเลยทีเดียว! (ต้องเอ่ยถึงเสียหน่อยเดี๋ยวจะหาว่าผมไม่ได้กล่าวถึงเลย)

ยังมีต่ออีกครับ แต่ขอพักเสาร์-อาทิตย์ ผมจะไปชะอำ ทำสัมมนากับทีมสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน ม.ศรีปทุมหน่อยครับ

แล้วคุยกันใหม่ครับ!

อ.วิทยา สุหฤทดำรง


นำ ประสบการณ์ เที่ยว Shanghai Expo 2010 มา เล่า แนะนำ เดินชม อย่างไร ไปตอนไหน น่าสนใจ