นึกถึงคำพูดของบัญฑิต อึ้งรังษี ที่กล่าวว่า “จะต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้ และก็ไม่ใช่แค่ที่หนึ่งในประเทศเท่านั้น แต่จะต้องเป็นที่หนึ่งของโลกให้ได้”แล้วเราก็ได้ยินคำว่า Global Supply Chain หรือโซ่อุปทานระดับโลกอยู่บ่อยครั้ง แต่คงจะไม่ใช่ในแง่ที่ดีนัก เพราะเหตุภัยพิบัติในประเทศไทยเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม และสร้างผลกระทบให้เกิดการหยุดชะงักของโซ่อุปทานระดับโลก ผมได้ยินหลายคนพูดถึงกัน บางคนอาจจะไม่เคยนึกถึงว่าฐานการผลิตในประเทศไทยนั้นจะสร้างผลกระทบไม่ทั่วโลกเช่นนี้ แต่มันก็ไม่น่าจะภูมิใจเสียเท่าไหร่เลย แล้วความเป็นโซ่อุปทานและโซ่อุปทานระดับโลกนั้นมันมีอยู่แค่ที่เราเห็นและสัมผัสกันได้เท่านี้หรือ จะเหมือนกับโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในกลุ่ม SME หรืออุตสาหกรรมท้องถิ่นหรือไม่ คำตอบของผม คือ หลักการและแนวคิดเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่บริบท สิ่งที่สัมผัสและรับรู้ได้จะแตกต่างกันไปตามบริบท
ถ้านึกถึงโซ่อุปทานแล้ว ส่วนใหญ่ที่เห็นพูดกันในข่าวทั่ว ๆไป เราจะเข้าใจกันว่าเป็นโซ่การผลิต ... นั่นก็ใช่ครับ การผลิตเป็นบริบทหนึ่งของการสร้างคุณค่าในรูปแบบของผลิตภัณฑ์และการบริการ และอีกส่วนที่สำคัญมากก็คือ ลอจิสติกส์ เพราะว่าถ้าไม่มีลอจิสติกส์แล้ว การผลิตจะไม่มีวัตถุดิบและชิ้นส่วนสำหรับการผลิตหรือลูกค้าได้ไม่ได้รับผลิตภัณฑ์และบริการตามที่คาดหมาย นั่นหมายถึงธุรกิจไม่เกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อพูดถึงโซ่อุปทานแล้วต้องมองให้ครอบคลุมไปทั่วทั้งโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงมือของลูกค้า ทุกคนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องดำเนินงานร่วมกันตลอดโซ่อุปทานเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับลูกค้า แต่ว่าการที่จะมุ่งเน้นให้ความสนใจในการปรับปรุงกิจกรรมในโซ่อุปทาน เราก็สามารถที่จะดำเนินการในส่วนไหนก็ได้หรือถ้ามีพลังหรือกำลังมากจะดำเนินการตลอดทั้งโซ่อุปทานก็ได้ ก็จะได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง
กิจกรรมในโซ่อุปทานนั้นไม่ได้มีแค่การผลิตและลอจิสติกส์เท่านั้น เวลาที่เรากล่าวถึงโซ่อุปทานเรามักจะไม่ได้รวมเอากิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นส่วนต่างๆ ของโซ่อุปทานเข้าไปด้วย ถ้าจะว่าไปแล้วควรจะพูดว่า “กว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าได้นั้น ทุกกิจกรรมในโซ่อุปทานมีส่วนในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ” มีการให้ความหมายของโซ่อุปทานที่กว้างและครอบคลุมเกือบทุกกิจกรรมที่มีส่วนในการสร้างสรรค์คุณค่า จุดมุ่งหมายของคำว่า “โซ่อุปทาน” เพื่อต้องการที่จะสื่อสารให้เห็นถึงความเป็นองค์รวม (Holism) หรือเป็นระบบ (Systemic) ทุกคนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ทุกคนมีความหมายและมีความสำคัญต่อความเป็นไปของระบบ ดังที่เราได้เห็นเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยว่า ประเทศเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบโลก เมื่อประเทศเราเกิดปัญหา โลกก็เกิดปัญหาด้วย
เมื่อเรากล่าวถึงความเป็นโซ่อุปทานเราไม่ได้เห็นแค่องค์ประกอบของโซ่อุปทานเท่านั้น แต่เราได้เห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เป็นเครือข่าย (Network) ขององค์ประกอบในโซ่อุปทานด้วย ผลิตภัณฑ์และบริการรวมทั้งความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของโซ่อุปทานเกิดขึ้นมาจากคุณค่าขององค์ประกอบต่างๆ และความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่สร้างผลลัพธ์ของโซ่อุปทานที่ออกมาในรูปของผลิตภัณฑ์และบริการ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงโซ่อุปทาน เราควรจะเห็นความเป็นระบบ (Systemic Structure) หรือความเป็นองค์รวม (Holism) ที่ประกอบไปด้วยคุณค่าย่อยต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าย่อยเหล่านั้นด้วย
แต่ส่วนมากเราจะศึกษาโซ่อุปทานในมุมขององค์ประกอบของโซ่อุปทานหรือมองกันเฉพาะฟังก์ชั่นในโซ่อุปทานกันเป็นส่วนใหญ่ว่า โซ่อุปทานนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง? แต่ไม่ค่อยได้เห็นการศึกษาถึงผลกระทบของการจัดการความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในโซ่อุปทาน เรามักจะเข้าใจโซ่อุปทานในเชิงสถิตย์ (Static) มากกว่าในเชิงพลวัต (Dynamics) ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว บริบทของโซ่อุปทานนั้นมีความเป็นพลวัตสูงสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน ความเข้าใจโซ่อุปทานในมุมเดียวนั้นอาจจะทำให้เราเข้าใจโซ่อุปทานไม่ลึกซึ้งเท่าไรนัก ซึ่งจะทำให้ได้ใช้ประโยชน์จากแนวคิดนี้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ มันเป็นความจริงว่า โครงสร้างและองค์ประกอบของโซ่อุปทานในเชิงสถิตย์มีความสำคัญและเป็นพื้นฐานให้กับความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบกันเองในโซ่อุปทาน แต่ว่าพฤติกรรมเชิงพลวัตของโซ่อุปทานที่สามารถรองรับกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจะขึ้นอยู่กับการจัดการความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์กันขององค์ประกอบในโซ่อุปทาน ดังนั้นโซ่อุปทานต้องมีคุณสมบัติเชิงพลวัตเพื่อที่จะรับมือกับบริบทที่มีความเป็นพลวัต นั่นหมายความว่า โซ่อุปทานจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและบริบทต่างๆของกระบวนการสร้างคุณค่า
สิ่งที่ Global Supply Chain ต่างจาก Local Supply Chain ก็คือ บริบทขององค์ประกอบของโซ่อุปทานที่กระจายไปอยู่ทั่วโลก และโดยเฉพาะลูกค้าผู้รับคุณค่าที่กระจายไปอยู่ทั่วโลก บริบทของความเป็น Global หรือระดับโลกก็คือ การเชื่อมต่อกันและการมีปฏิสัมพันธ์กันจะมีความยุ่งยากและมีรายละเอียดมากกว่าโซ่อุปทานในระดับท้องถิ่นทั่วไป บางครั้งก็กลายเป็นความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างซับซ้อน ลองนึกภาพการเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ ในประเทศ กับการเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในโลก เช่นเดียวกันกับการเดินทางของวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างๆ ที่อยู่ในท้องถิ่นหรือในประเทศกับการเดินทางของชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่ไปทั่วโลก ความยุ่งยากและรายละเอียดที่มากขึ้นของความเป็นระดับโลก (Global) ได้กลายมาเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการจัดการโซ่อุปทานระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนทางการค้า พิธีการศุลกากร ภาษี ข้อตกลงและความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในโซ่อุปทาน ยิ่งมีปัญหาในประเด็นเหล่านี้มากเท่าไร เราก็จะมีต้นทุนและเสียเวลาในการดำเนินงานมากขึ้นเท่านั้น ทั้งๆ ที่กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนในการเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าเลย กิจกรรมเหล่านี้ถือว่าเป็น Soft Side ของการจัดการโซ่อุปทาน ส่วนกิจกรรมการเพิ่มคุณค่าในตัวสินค้าและบริการนั้นถือว่าเป็น Hard Side ของโซ่อุปทาน ลูกค้าจะใช้ประโยชน์จากคุณค่าที่เกิดจาก Hard Side แต่ผลิตภัณฑ์และบริการจะไม่ถึงมือลูกค้าได้เลย ถ้าเราไม่ได้มีการจัดการในด้าน Soft Side
ลองนึกภาพการเดินทางจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง กฎระเบียบและขั้นตอนในแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันไป ยิ่งโซ่อุปทานครอบคลุมผู้จัดส่งวัตถุดิบไปในหลายๆ ประเทศทั่วโลกรวมทั้งลูกค้าที่อยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วยแล้ว การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดส่งวัตถุดิบจากหลายประเทศเพื่อที่จะนำส่งผลิตภัณฑ์และบริการไปให้กับลูกค้าในประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็จะมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อสมรรถนะของโซ่อุปทานโดยรวมด้วย
ถ้านึกถึงโซ่อุปทานแล้ว ส่วนใหญ่ที่เห็นพูดกันในข่าวทั่ว ๆไป เราจะเข้าใจกันว่าเป็นโซ่การผลิต ... นั่นก็ใช่ครับ การผลิตเป็นบริบทหนึ่งของการสร้างคุณค่าในรูปแบบของผลิตภัณฑ์และการบริการ และอีกส่วนที่สำคัญมากก็คือ ลอจิสติกส์ เพราะว่าถ้าไม่มีลอจิสติกส์แล้ว การผลิตจะไม่มีวัตถุดิบและชิ้นส่วนสำหรับการผลิตหรือลูกค้าได้ไม่ได้รับผลิตภัณฑ์และบริการตามที่คาดหมาย นั่นหมายถึงธุรกิจไม่เกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อพูดถึงโซ่อุปทานแล้วต้องมองให้ครอบคลุมไปทั่วทั้งโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงมือของลูกค้า ทุกคนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องดำเนินงานร่วมกันตลอดโซ่อุปทานเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับลูกค้า แต่ว่าการที่จะมุ่งเน้นให้ความสนใจในการปรับปรุงกิจกรรมในโซ่อุปทาน เราก็สามารถที่จะดำเนินการในส่วนไหนก็ได้หรือถ้ามีพลังหรือกำลังมากจะดำเนินการตลอดทั้งโซ่อุปทานก็ได้ ก็จะได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง
กิจกรรมในโซ่อุปทานนั้นไม่ได้มีแค่การผลิตและลอจิสติกส์เท่านั้น เวลาที่เรากล่าวถึงโซ่อุปทานเรามักจะไม่ได้รวมเอากิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นส่วนต่างๆ ของโซ่อุปทานเข้าไปด้วย ถ้าจะว่าไปแล้วควรจะพูดว่า “กว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าได้นั้น ทุกกิจกรรมในโซ่อุปทานมีส่วนในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ” มีการให้ความหมายของโซ่อุปทานที่กว้างและครอบคลุมเกือบทุกกิจกรรมที่มีส่วนในการสร้างสรรค์คุณค่า จุดมุ่งหมายของคำว่า “โซ่อุปทาน” เพื่อต้องการที่จะสื่อสารให้เห็นถึงความเป็นองค์รวม (Holism) หรือเป็นระบบ (Systemic) ทุกคนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ทุกคนมีความหมายและมีความสำคัญต่อความเป็นไปของระบบ ดังที่เราได้เห็นเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยว่า ประเทศเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบโลก เมื่อประเทศเราเกิดปัญหา โลกก็เกิดปัญหาด้วย
เมื่อเรากล่าวถึงความเป็นโซ่อุปทานเราไม่ได้เห็นแค่องค์ประกอบของโซ่อุปทานเท่านั้น แต่เราได้เห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เป็นเครือข่าย (Network) ขององค์ประกอบในโซ่อุปทานด้วย ผลิตภัณฑ์และบริการรวมทั้งความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของโซ่อุปทานเกิดขึ้นมาจากคุณค่าขององค์ประกอบต่างๆ และความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่สร้างผลลัพธ์ของโซ่อุปทานที่ออกมาในรูปของผลิตภัณฑ์และบริการ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงโซ่อุปทาน เราควรจะเห็นความเป็นระบบ (Systemic Structure) หรือความเป็นองค์รวม (Holism) ที่ประกอบไปด้วยคุณค่าย่อยต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าย่อยเหล่านั้นด้วย
แต่ส่วนมากเราจะศึกษาโซ่อุปทานในมุมขององค์ประกอบของโซ่อุปทานหรือมองกันเฉพาะฟังก์ชั่นในโซ่อุปทานกันเป็นส่วนใหญ่ว่า โซ่อุปทานนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง? แต่ไม่ค่อยได้เห็นการศึกษาถึงผลกระทบของการจัดการความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในโซ่อุปทาน เรามักจะเข้าใจโซ่อุปทานในเชิงสถิตย์ (Static) มากกว่าในเชิงพลวัต (Dynamics) ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว บริบทของโซ่อุปทานนั้นมีความเป็นพลวัตสูงสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน ความเข้าใจโซ่อุปทานในมุมเดียวนั้นอาจจะทำให้เราเข้าใจโซ่อุปทานไม่ลึกซึ้งเท่าไรนัก ซึ่งจะทำให้ได้ใช้ประโยชน์จากแนวคิดนี้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ มันเป็นความจริงว่า โครงสร้างและองค์ประกอบของโซ่อุปทานในเชิงสถิตย์มีความสำคัญและเป็นพื้นฐานให้กับความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบกันเองในโซ่อุปทาน แต่ว่าพฤติกรรมเชิงพลวัตของโซ่อุปทานที่สามารถรองรับกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจะขึ้นอยู่กับการจัดการความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์กันขององค์ประกอบในโซ่อุปทาน ดังนั้นโซ่อุปทานต้องมีคุณสมบัติเชิงพลวัตเพื่อที่จะรับมือกับบริบทที่มีความเป็นพลวัต นั่นหมายความว่า โซ่อุปทานจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและบริบทต่างๆของกระบวนการสร้างคุณค่า
สิ่งที่ Global Supply Chain ต่างจาก Local Supply Chain ก็คือ บริบทขององค์ประกอบของโซ่อุปทานที่กระจายไปอยู่ทั่วโลก และโดยเฉพาะลูกค้าผู้รับคุณค่าที่กระจายไปอยู่ทั่วโลก บริบทของความเป็น Global หรือระดับโลกก็คือ การเชื่อมต่อกันและการมีปฏิสัมพันธ์กันจะมีความยุ่งยากและมีรายละเอียดมากกว่าโซ่อุปทานในระดับท้องถิ่นทั่วไป บางครั้งก็กลายเป็นความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างซับซ้อน ลองนึกภาพการเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ ในประเทศ กับการเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในโลก เช่นเดียวกันกับการเดินทางของวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างๆ ที่อยู่ในท้องถิ่นหรือในประเทศกับการเดินทางของชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่ไปทั่วโลก ความยุ่งยากและรายละเอียดที่มากขึ้นของความเป็นระดับโลก (Global) ได้กลายมาเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการจัดการโซ่อุปทานระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนทางการค้า พิธีการศุลกากร ภาษี ข้อตกลงและความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในโซ่อุปทาน ยิ่งมีปัญหาในประเด็นเหล่านี้มากเท่าไร เราก็จะมีต้นทุนและเสียเวลาในการดำเนินงานมากขึ้นเท่านั้น ทั้งๆ ที่กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนในการเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าเลย กิจกรรมเหล่านี้ถือว่าเป็น Soft Side ของการจัดการโซ่อุปทาน ส่วนกิจกรรมการเพิ่มคุณค่าในตัวสินค้าและบริการนั้นถือว่าเป็น Hard Side ของโซ่อุปทาน ลูกค้าจะใช้ประโยชน์จากคุณค่าที่เกิดจาก Hard Side แต่ผลิตภัณฑ์และบริการจะไม่ถึงมือลูกค้าได้เลย ถ้าเราไม่ได้มีการจัดการในด้าน Soft Side
ลองนึกภาพการเดินทางจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง กฎระเบียบและขั้นตอนในแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันไป ยิ่งโซ่อุปทานครอบคลุมผู้จัดส่งวัตถุดิบไปในหลายๆ ประเทศทั่วโลกรวมทั้งลูกค้าที่อยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วยแล้ว การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดส่งวัตถุดิบจากหลายประเทศเพื่อที่จะนำส่งผลิตภัณฑ์และบริการไปให้กับลูกค้าในประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็จะมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อสมรรถนะของโซ่อุปทานโดยรวมด้วย
คราวนี้ลองมาดู The F-35 Global Supply Chain จากนิตยสาร Blooberg Businessweek ฉบับเดือน September 2011 เครื่องบินขับไล่ F-35 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีราคาแพงที่สุดเท่าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐเคยว่าจ้างในการผลิต ผู้รับช่วงในการผลิต คือ Lockheed Martin และ Pratt & Whitney ซึ่งจะได้เงินไปเกือบๆ 500 พันล้านดอลลาร์ โครงการนี้จะประกอบไปด้วยผู้จัดส่งวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างๆ มากกว่า 1300 รายจาก 9 ประเทศและจาก 48 รัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ดูภาพประกอบ แล้วคิดว่ามันน่าจะมีความยุ่งยากขนาดไหน
ที่มา: http://www.businessweek.com/magazine/the-f35s-global-supply-chain-09012011-gfx.html
ความจริงแล้วความเป็น Global Supply Chain นั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสินค้ามีราคาแพงหรือมีเทคโนโลยีระดับสูงๆ สินค้าธรรมดาๆที่เรากินเราใช้อยู่ทุกวันนี้ก็สามารถอยู่ใน Global Supply Chain ได้ แต่ประเด็นของผมก็คือ เราได้รับรู้ถึงความเป็น Global Supply Chain ได้อย่างไรบ้าง เรารู้สึกหรือไม่ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบโลกหรือเป็นส่วนหนึ่งของโลกภิวัฒน์ เรามองเห็นโลกอย่างไร หรือเรามองเห็นแต่ตัวเอง ซึ่งมักจะทำให้เราคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางอยู่เสมอ ทั้งๆ ที่เราเองก็ไม่ได้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ระดับโลกอะไรเลย เราก็เป็นแค่ผู้รับจ้างผลิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Global Supply Chain ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร ถ้าเราจะเป็นแค่ผู้รับจ้างผลิต แต่เราก็ต้องมองเห็นและเข้าใจความเป็น Global Supply Chain เพราะว่าถ้าเราไม่เห็นโลกและเข้าใจโลกแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ในตลาดโลกหรือเกิดเหตุการณ์ในโซ่อุปทานระดับโลก เราที่เป็นส่วนหนึ่งก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง โซ่อุปทานระดับโลกเป็นการลงทุนที่สูง ผลตอบแทนก็สูง ในขณะเดียวกันความเสียหายก็สูงตามไปด้วย
ความเป็น Global Supply Chain เป็นการลงทุนที่สูง ดังนั้นข้อมูลในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์และบริการในแต่ละตลาดทั่วโลกจึงมีความสำคัญมาก เพราะว่าถ้าผิดพลาดไป นั่นก็หมายความว่า การลงทุนไปใน Global Supply Chain นั้นจะทำให้เกิดการขาดทุนอย่างมหาศาล แทนที่จะเป็นกำไรอย่างมหาศาล ความต้องการของลูกค้าในระดับโลกจะเป็นตัวกำหนดหรือออกแบบเครือข่ายโซ่อุปทานระดับโลกเพื่อหาเครือข่ายผู้ผลิตที่มีความชำนาญและต้นทุนที่ต่ำกว่าตามแหล่งผลิตทั่วโลก รวมทั้งเครือข่ายลอจิสติกส์ในการนำส่งผลิตภัณฑ์และบริการให้ถึงตลาดเป้าหมาย การตัดสินใจในระดับโซ่อุปทานโลก (Global Decision Level) จึงเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Decision) เพื่อสร้างเครือข่ายโซ่อุปทาน (Supply Chain Network) ในการตอบสนองอย่างมีโครงสร้างเชิงระบบเพื่อรองรับความเป็นพลวัตของตลาดและความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติที่จะมีผลต่อการดำเนินงานของเครือข่ายโซ่อุปทาน ดังนั้นเครือข่ายโซ่อุปทาน (Supply Chain Network) ใดที่สามารถใช้ประโยชน์จากการจัดการความสัมพันธ์และการมีปฎิสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายโซ่อุปทานก็จะสามารถปรับตัวให้เข้าการเปลี่ยนแปลงได้ หรือสามารถฟื้นตัวได้เองจากสภาพความเสียหายที่ได้รับจากภัยพิบัติ และสามารถปรับองค์กรได้ด้วยตนเองจนเกิดการอุบัติขึ้นใหม่ของเหตุการณ์ในเครือข่ายโซ่อุปทานเพื่อทำให้เครือข่ายโซ่อุปทานระดับโลกสามารถอยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์
ความจริงแล้วความเป็น Global Supply Chain นั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสินค้ามีราคาแพงหรือมีเทคโนโลยีระดับสูงๆ สินค้าธรรมดาๆที่เรากินเราใช้อยู่ทุกวันนี้ก็สามารถอยู่ใน Global Supply Chain ได้ แต่ประเด็นของผมก็คือ เราได้รับรู้ถึงความเป็น Global Supply Chain ได้อย่างไรบ้าง เรารู้สึกหรือไม่ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบโลกหรือเป็นส่วนหนึ่งของโลกภิวัฒน์ เรามองเห็นโลกอย่างไร หรือเรามองเห็นแต่ตัวเอง ซึ่งมักจะทำให้เราคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางอยู่เสมอ ทั้งๆ ที่เราเองก็ไม่ได้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ระดับโลกอะไรเลย เราก็เป็นแค่ผู้รับจ้างผลิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Global Supply Chain ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร ถ้าเราจะเป็นแค่ผู้รับจ้างผลิต แต่เราก็ต้องมองเห็นและเข้าใจความเป็น Global Supply Chain เพราะว่าถ้าเราไม่เห็นโลกและเข้าใจโลกแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ในตลาดโลกหรือเกิดเหตุการณ์ในโซ่อุปทานระดับโลก เราที่เป็นส่วนหนึ่งก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง โซ่อุปทานระดับโลกเป็นการลงทุนที่สูง ผลตอบแทนก็สูง ในขณะเดียวกันความเสียหายก็สูงตามไปด้วย
ความเป็น Global Supply Chain เป็นการลงทุนที่สูง ดังนั้นข้อมูลในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์และบริการในแต่ละตลาดทั่วโลกจึงมีความสำคัญมาก เพราะว่าถ้าผิดพลาดไป นั่นก็หมายความว่า การลงทุนไปใน Global Supply Chain นั้นจะทำให้เกิดการขาดทุนอย่างมหาศาล แทนที่จะเป็นกำไรอย่างมหาศาล ความต้องการของลูกค้าในระดับโลกจะเป็นตัวกำหนดหรือออกแบบเครือข่ายโซ่อุปทานระดับโลกเพื่อหาเครือข่ายผู้ผลิตที่มีความชำนาญและต้นทุนที่ต่ำกว่าตามแหล่งผลิตทั่วโลก รวมทั้งเครือข่ายลอจิสติกส์ในการนำส่งผลิตภัณฑ์และบริการให้ถึงตลาดเป้าหมาย การตัดสินใจในระดับโซ่อุปทานโลก (Global Decision Level) จึงเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Decision) เพื่อสร้างเครือข่ายโซ่อุปทาน (Supply Chain Network) ในการตอบสนองอย่างมีโครงสร้างเชิงระบบเพื่อรองรับความเป็นพลวัตของตลาดและความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติที่จะมีผลต่อการดำเนินงานของเครือข่ายโซ่อุปทาน ดังนั้นเครือข่ายโซ่อุปทาน (Supply Chain Network) ใดที่สามารถใช้ประโยชน์จากการจัดการความสัมพันธ์และการมีปฎิสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายโซ่อุปทานก็จะสามารถปรับตัวให้เข้าการเปลี่ยนแปลงได้ หรือสามารถฟื้นตัวได้เองจากสภาพความเสียหายที่ได้รับจากภัยพิบัติ และสามารถปรับองค์กรได้ด้วยตนเองจนเกิดการอุบัติขึ้นใหม่ของเหตุการณ์ในเครือข่ายโซ่อุปทานเพื่อทำให้เครือข่ายโซ่อุปทานระดับโลกสามารถอยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์