จากบทความที่แล้ว Perspective 15 ที่มีการพูดถึงเรื่องของ Lean Supply Chain ในเครือข่ายโซ่อุปทานระดับโลก (Global Supply Chain) และยังมีการพูดถึงว่าการทำโซ่อุปทานให้มีความเป็นลีน (Lean) นั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ ที่จริงแล้วถ้าเรายังเข้าใจเรื่องลีนไม่หมดหรือไม่ลึกซึ้ง เราก็ยังคงต้องสงสัยกันไปเรื่อยๆ อย่างนี้แหละครับ ความเป็นลีนนั้นไม่ใช่แค่ลักษณะทางกายภาพที่เราเห็นว่ามีสินค้าคงคลังที่น้อยหรือเป็นศูนย์ (Zero Inventory) หรือมีลักษณะที่ทันเวลาพอดี (Just in Time) เท่านั้น ลีนนั้นเป็นมากกว่าที่เราได้เห็นและสัมผัสได้ ลีนนั้นเป็นวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของการสร้างสรรค์คุณค่าให้กับสังคมมนุษย์ สำหรับลีนในเชิงกายภาพนั้นบริษัทโตโยต้าได้ค้นพบและปฏิบัติกันมานานกว่า 70ปีแล้วในนามของ Toyota Production System (TPS) จิตวิญญาณแห่งการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทำให้บริษัทโตโยต้าได้พัฒนาแนวคิด Toyota Production System ไปสู่ Toyota Way เพื่อความเป็นเลิศในผลิตภัณฑ์และธุรกิจ ลีนในปัจจุบันคงจะไม่ใช่แค่ระบบ TPSในอดีต แต่ลีนในปัจจุบันก็จะต้องมุ่งสู่การสร้างวัฒนธรรมและจิตวิญญาณเหมือนใน Toyota Way สำหรับผมนั้นยังศรัทธาในความเป็นลีนและโซ่อุปทานอยู่เสมอ เพราะทั้งสองแนวคิดนี้เป็นเรื่องความจริงที่เป็นธรรมชาติ แล้วทำไมเราต้องปฏิเสธแนวคิดทั้งสองนี้ด้วยเล่า ถ้าเราเข้าใจทั้งสองแนวคิดนี้แล้ว เราก็น่าจะรับทั้งสองแนวคิดนี้ได้และยอมรับในความเป็นไปและความลงตัวตามธรรมชาติของแนวคิดทั้งสอง ไม่มีใครได้อะไรทุกอย่างและไม่อะไรเป็นที่สุดหรอกครับ ทั้งหมดที่เราเห็นนั้นมันไม่เที่ยง แต่ความจริงเท่านั้นที่คงอยู่ โซ่อุปทานแบบลีนก็ คือ ความจริงนั้น ที่สำคัญเมื่อเราเข้าใจ แล้วเราก็ยิ่งเข้าใจความเป็นลีนและโซ่อุปทานมากยิ่งขึ้นในมุมและมิติที่ขยายออกไป
แนวคิดโซ่อุปทานในการจัดการผลิตที่มีแหล่งวัตถุดิบและการผลิตกระจายไปทั่วโลกนั้นก็ยังคงได้รับการยอมรับอยู่ หลักการนั้นก็ยังคงใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของโซ่อุปทานทั่วไป เพราะว่าผลิตภัณฑ์และการบริการมีความซับซ้อนมากขึ้นตามความต้องการของลูกค้า หลายบริษัทๆ จึงต้องมุ่งเน้นตามความสามารถของตัวเองเป็นหลัก จึงทำให้เกิดการจัดจ้างจากภายนอกหรือ Outsourcing ใครเก่งเรื่องใดก็ทำเรื่องนั้นเป็นหลัก ทำให้โครงสร้างของโซ่อุปทานเปลี่ยนแปลงไปในมุมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในขณะเดียวกันโซ่อุปทานในยุคปัจจุบันก็ยังต้องการโครงสร้างที่มีความว่องไวในการตอบสนองทั้งในรูปแบบของปริมาณและรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้า รวมทั้งความสามารถในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วย
สิ่งหนึ่งที่แนวคิดแบบลีนและโซ่อุปทานมุ่งเป้าไปในทิศทางเดียวกันก็ คือ การตอบสนองต่อคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นทั้งลีนและโซ่อุปทานจึงเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มองกันคนละมุม ที่จริงแล้วเทคนิคการคิดและการจัดการทั้งในลีนและโซ่อุปทานนั้นเป็นเรื่องเดียวกันทั้งสิ้น แต่มองกันคนละมุมเท่านั้นเอง โซ่อุปทานนั้นมองในเชิงโครงสร้างของการสร้างคุณค่าทั้งในการผลิตและลอจิสติกส์ ส่วนลีนนั้นมองในเชิงของการใช้ความสามารถของมนุษย์ที่อยู่ในโซ่อุปทานเพื่อสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาในโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ จนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้า ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงมักจะได้ยินและได้เห็นการบูรณาการแนวคิดทั้งสองนี้เป็นโซ่อุปทานแบบลีน
จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุการณ์การหยุดชะงักของโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) อยู่บ่อยครั้งขึ้นในช่วงทศววรษที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ด้วยกันเอง จึงทำให้คุณค่าที่ลูกค้าต้องการไม่สามารถถูกผลิตหรือถูกส่งมอบถึงมือลูกค้าได้ ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่วโลก แนวโน้มของเหตุการณ์เหล่านี้ดูเหมือนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ และยากต่อการคาดการณ์ด้วย โดยเฉพาะจากภัยธรรมชาติซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก แนวคิดของการจัดการโซ่อุปทานในช่วงทศววรษที่ผ่านมามักจะเน้นที่การจัดการโซ่อุปทานให้ลีนจนเกิดความเปราะบางจนกระทั่งทำให้เกิดการขาดช่วงหรือหยุดชะงักของโซ่อุปทานได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้โซ่อุปทานขาดช่วงขาดตอนไป จึงทำให้เกิดคำถามว่าแล้วโซ่อุปทานแบบลีนนั้นยังคงจะใช้ได้หรือไม่
เรื่องนี้แล้วแต่มุมมองของผู้ที่รับแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ แต่ผมคิดว่าแนวคิดของโซ่อุปทานและแนวคิดแบบลีนเป็นแนวคิดในเชิง Socio-Technical หรือ สังคม-เทคนิค ที่มีความเป็นพลวัตในตัวเองซึ่งเกิดมาจากการคิดและตัดสินใจของมนุษย์ที่อยู่ในโซ่อุปทาน ความเป็นมนุษย์ที่อยู่ในองค์กรหรือสังคมทำให้เกิดการวิวัฒนาการทางแนวคิดเพื่อที่จะปรับแนวคิดให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม ดังนั้นโซ่อุปทานแบบลีนในอดีตจึงต้องแตกต่างจากโซ่อุปทานแบบลีนในปัจจุบันและในอนาคต ถ้าคิดว่าโซ่อุปทานยิ่งลีนแล้วยิ่งทำให้เกิดความเปราะบางในการนำส่งคุณค่าให้กับลูกค้า ในทางตรงกันข้ามแล้วถ้าเราจะทำให้โซ่อุปทานมีแต่ไขมันและไม่คล่องตัวว่องไวในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเพื่อแก้ไขความเปราะบาง มุมมองที่คิดว่าโซ่อุปทานแบบลีนมีความเปราะบางต่อการหยุดชะงักนั้นเป็นมุมที่มองแนวคิดแบบลีนแต่ด้านกายภาพแต่เพียงด้านเดียว ต่อให้มีการจัดการด้านอื่น ๆที่ไม่ใช่แบบลีน เมื่อได้ประสบกับภัยพิบัติที่ทำให้เกิดการพังทะลายหรือการหยุดชะงักของโซ่อุปทานแล้ว ก็คงจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเหมือนกัน ไม่ว่าจะจัดการโซ่อุปทานในมุมมองไหนก็ตามก็ตาม
เพื่อที่จะแก้ไขความเปราะบางของโซ่อุปทาน เราจะต้องสร้างโซ่อุปทานให้มีความแข็งแกร่งและสามารถฟื้นตัวได้เองแนวคิดของโซ่อุปทานแบบลีนในอดีตจะที่มีลักษณะแนวคิดในเชิงกลไก (Mechanistic) ซึ่งต่อมาในยุคปัจจุบันคงจะต้องมีการพัฒนาไปสู่แนวคิดของโซ่อุปทานแบบลีนที่โครงสร้างเป็นระบบ (Systemic) หรือเป็นเครือข่าย (Network) การออกแบบโซ่อุปทานในอดีตมักจะใช้แนวคิดในเชิงวิศวกรรม (Engineering) ที่มุ่งเน้นไปที่ความมีเสถียรภาพของฟังก์ชั่นการทำงาน (Functional Stability) เพื่อทำให้เกิดสมรรถนะการทำงานที่เหมาะสมที่สุดภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ (Optimal) โดยมีเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการทำงาน (Error Free) และจะต้องคาดการณ์เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในโซ่อุปทานและสภาพแวดล้อมของโซ่อุปทาน ถึงแม้ว่าในสภาพแวดล้อมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตก็ตาม แต่แนวคิดในการจัดการก็ยังไม่ได้รองรับการเปลี่ยนแปลงเชิงพลวัตมากเท่าใดนัก เพราะความเป็นพลวัตที่เกิดขึ้นยังไม่ได้ส่งผลกระทบมากนัก การจัดการโดยทั่วไปมักจะเน้นไปที่การพยากรณ์และการสำรองเผื่อไว้สำหรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น แนวคิดในการออกแบบและจัดการโซ่อุปทานในลักษณะนี้เป็นการออกแบบในเชิงวิศวกรรมที่จะไม่มีคุณสมบัติของความยืดหยุ่นและยังต้องอาศัยการตัดสินใจจากส่วนกลางทำให้ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที
จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุการณ์การหยุดชะงักของโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) อยู่บ่อยครั้งขึ้นในช่วงทศววรษที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ด้วยกันเอง จึงทำให้คุณค่าที่ลูกค้าต้องการไม่สามารถถูกผลิตหรือถูกส่งมอบถึงมือลูกค้าได้ ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่วโลก แนวโน้มของเหตุการณ์เหล่านี้ดูเหมือนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ และยากต่อการคาดการณ์ด้วย โดยเฉพาะจากภัยธรรมชาติซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก แนวคิดของการจัดการโซ่อุปทานในช่วงทศววรษที่ผ่านมามักจะเน้นที่การจัดการโซ่อุปทานให้ลีนจนเกิดความเปราะบางจนกระทั่งทำให้เกิดการขาดช่วงหรือหยุดชะงักของโซ่อุปทานได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้โซ่อุปทานขาดช่วงขาดตอนไป จึงทำให้เกิดคำถามว่าแล้วโซ่อุปทานแบบลีนนั้นยังคงจะใช้ได้หรือไม่
เรื่องนี้แล้วแต่มุมมองของผู้ที่รับแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ แต่ผมคิดว่าแนวคิดของโซ่อุปทานและแนวคิดแบบลีนเป็นแนวคิดในเชิง Socio-Technical หรือ สังคม-เทคนิค ที่มีความเป็นพลวัตในตัวเองซึ่งเกิดมาจากการคิดและตัดสินใจของมนุษย์ที่อยู่ในโซ่อุปทาน ความเป็นมนุษย์ที่อยู่ในองค์กรหรือสังคมทำให้เกิดการวิวัฒนาการทางแนวคิดเพื่อที่จะปรับแนวคิดให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม ดังนั้นโซ่อุปทานแบบลีนในอดีตจึงต้องแตกต่างจากโซ่อุปทานแบบลีนในปัจจุบันและในอนาคต ถ้าคิดว่าโซ่อุปทานยิ่งลีนแล้วยิ่งทำให้เกิดความเปราะบางในการนำส่งคุณค่าให้กับลูกค้า ในทางตรงกันข้ามแล้วถ้าเราจะทำให้โซ่อุปทานมีแต่ไขมันและไม่คล่องตัวว่องไวในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเพื่อแก้ไขความเปราะบาง มุมมองที่คิดว่าโซ่อุปทานแบบลีนมีความเปราะบางต่อการหยุดชะงักนั้นเป็นมุมที่มองแนวคิดแบบลีนแต่ด้านกายภาพแต่เพียงด้านเดียว ต่อให้มีการจัดการด้านอื่น ๆที่ไม่ใช่แบบลีน เมื่อได้ประสบกับภัยพิบัติที่ทำให้เกิดการพังทะลายหรือการหยุดชะงักของโซ่อุปทานแล้ว ก็คงจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเหมือนกัน ไม่ว่าจะจัดการโซ่อุปทานในมุมมองไหนก็ตามก็ตาม
เพื่อที่จะแก้ไขความเปราะบางของโซ่อุปทาน เราจะต้องสร้างโซ่อุปทานให้มีความแข็งแกร่งและสามารถฟื้นตัวได้เองแนวคิดของโซ่อุปทานแบบลีนในอดีตจะที่มีลักษณะแนวคิดในเชิงกลไก (Mechanistic) ซึ่งต่อมาในยุคปัจจุบันคงจะต้องมีการพัฒนาไปสู่แนวคิดของโซ่อุปทานแบบลีนที่โครงสร้างเป็นระบบ (Systemic) หรือเป็นเครือข่าย (Network) การออกแบบโซ่อุปทานในอดีตมักจะใช้แนวคิดในเชิงวิศวกรรม (Engineering) ที่มุ่งเน้นไปที่ความมีเสถียรภาพของฟังก์ชั่นการทำงาน (Functional Stability) เพื่อทำให้เกิดสมรรถนะการทำงานที่เหมาะสมที่สุดภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ (Optimal) โดยมีเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการทำงาน (Error Free) และจะต้องคาดการณ์เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในโซ่อุปทานและสภาพแวดล้อมของโซ่อุปทาน ถึงแม้ว่าในสภาพแวดล้อมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตก็ตาม แต่แนวคิดในการจัดการก็ยังไม่ได้รองรับการเปลี่ยนแปลงเชิงพลวัตมากเท่าใดนัก เพราะความเป็นพลวัตที่เกิดขึ้นยังไม่ได้ส่งผลกระทบมากนัก การจัดการโดยทั่วไปมักจะเน้นไปที่การพยากรณ์และการสำรองเผื่อไว้สำหรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น แนวคิดในการออกแบบและจัดการโซ่อุปทานในลักษณะนี้เป็นการออกแบบในเชิงวิศวกรรมที่จะไม่มีคุณสมบัติของความยืดหยุ่นและยังต้องอาศัยการตัดสินใจจากส่วนกลางทำให้ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที
โซ่อุปทานแบบลีนในยุคปัจจุบันจะต้องมีคุณสมบัติในเชิงความสามารถในการฟื้นฟูตัวเอง (Resilience) และมีความแข็งแกร่ง (Robust) โซ่อุปทานที่มีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองเป็นโซ่อุปทานที่จะต้องจัดการกับขอบเขตของโซ่อุปทานและสถานการณ์แวดล้อมที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังคงมีกรอบการดำเนินงานเหมือนโครงสร้างโซ่อุปทานแบบดั้งเดิมซึ่งมีแบบจำลองที่เป็นฟังก์ชั่นและแนวการทำงานในเชิงวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโซ่อุปทานต่างๆ ได้พยายามที่จะตัดสินใจในการมองหาหนทางในการฟื้นฟูตัวเองจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่วนโซ่อุปทานที่มีความแข็งแกร่งจะเป็นโซ่อุปทานที่มีพฤติกรรมของระบบที่ซับซ้อน (Complex System) และระบบที่ถูกกระจายออกจากศูนย์กลาง (Distributed System) โซ่อุปทานที่แข็งแกร่งจะจัดการกับกระบวนการที่ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นมา (Non Deterministic) อย่างเช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาวะฉุกเฉินต่างๆ เฉพาะแนวทางนี้เท่านั้นที่เราสามารถที่จะสร้างแบบจำลอง (Modeling) และจำลองสถานการณ์ (Simulating) ของกระบวนการที่จัดองค์กรได้ด้วยตัวเอง (Self-organisation) ทำให้เกิดเป็นฟังก์ชั่นการของการอุบัติขึ้น (Emergent functionalities) ทำให้ไม่ต้องเกิดการรอคอยหรือการตั้งรับอย่างมีความคาดหวังว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้
การจัดการโซ่อุปทานและแนวคิดแบบลีนในอดีตนั้นเป็นการจัดการในเชิงสถิตย์ (Static) ไม่มีความเป็นพลวัตเข้ามาเกี่ยวข้องมากนักในการออกแบบและการวางแผน นั่นคงจะเป็นเพราะสภาพแวดล้อมของสังคมและธุรกิจที่ยังคงนิ่งหรือมีความผันผวนน้อย การคิดและการวางแผนตัดสินใจจึงเป็นไปตามแบบและวิธีการดั้งเดิม คือ การคาดการณ์แล้วก็ตัดสินใจ แล้วก็รอคอยเวลาหรือเหตุกาณณ์นั้นจะเกิดขึ้นตรงกับที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ สภาพที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นสภาพของทรัพยากรที่เกิน (Inventory) และ ทรัพยากรที่ขาด (Shorttage) แต่สภาพที่เราต้องการก็คือ สภาพทรัพยากรที่พอดี (Just in Time) หรือเหมาะสมที่สุด ผมคิดว่า สภาวะแวดล้อมของธุรกิจซึ่งรวมทั้งสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทานมากยิ่งขึ้น นับเป็นความท้าทายต่อการพัฒนาแนวคิดการจัดการโซ่อุปทานและการนำเอาแนวคิดแบบลีนเข้ามาประยุกต์ใช้ และคงอีกไม่นานนักที่เราอาจจะเห็นรูปธรรมของการจัดการโซ่อุปทานและแนวคิดแบบลีนที่ถูกประยุกต์ใช้ในยุดที่มีความเป็นพลวัตสูงอยู่รอบๆ ตัวเรา
การสื่อสารก็คือ การสื่อสาร ไม่ว่าตัวกลางหรือสื่อในการติดต่อหรือส่งข่าวสารจะเป็นอะไร จะเป็นเทคโนโลยีอะไรก็ตาม หรือในบริบทใดก็ตาม เราก็ยังคงได้รับข้อมูลในการสื่อสารนั้น ปรัชญาแนวคิดในการจัดการโซ่อุปทานและแนวคิดแบบลีนก็จะยังคงเดิมไม่ว่าบริบทของการสร้างคุณค่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากขนาดไหนก็ตาม เรามนุษย์ก็ยังคงจะต้องคิดและพัฒนาปรับปรุงกระบวนการจัดการตัวเองเพื่อความอยู่รอด มันคงจะไม่สำคัญหรอกว่าแนวคิดไหนจะใช้ได้อยู่หรือไม่ มันไม่ใช่การแข่งกันว่าวิธีการไหนจะดีกว่ากันหรือจะยังใช้ได้อยู่หรือไม่ ถึงแม้ว่าวิธีการนั้นจะตายไปแล้วหรือใช้ไม่ได้แล้วก็ตาม แต่แนวคิดหรือปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังที่เป็นนามธรรมนั้นยังคงอยู่เสมอ ซึ่งพร้อมที่จะให้เราซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องสร้างสรรค์วิธีการที่ดีกว่าจากบริบทใหม่เพื่อความอยู่รอดขององค์กรหรือสังคม ดังนั้นผมคิดว่า มันจะไม่มีประโยชน์อันใดที่จะมาถามว่า “แล้ววิธีการโซ่อุปทานแบบลีนนั้นจะยังคงใช้ได้หรือไม่” ผมว่ามันไม่สร้างสรรค์เลย แต่ในทางตรงกันข้าม เราก็ควรจะหาทางในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการปัจจุบันให้สามารถรองรับกับสถานการณ์ต่างๆ ให้ได้ทุกสถานการณ์ แต่ผมก็ยังมั่นใจในปรัชญาของทั้งโซ่อุปทานและแนวคิดแบบลีนอยู่เสมอ ไม่ว่าบริบทของธุรกิจและสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม