เป็นคำถามยอดฮิตครับ เพราะว่าหลายคนมีความสับสนเป็นอย่างมาก ที่จริงแล้วทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกันอยู่กันคนละระดับกัน ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าทั้งสองกิจกรรมนี้เกิดขึ้นเพราะว่าเราต้องการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองต่อคุณค่าที่ลูกค้าต้องการลูกค้า คุณค่าที่ลูกค้าต้องการก็มีทั้งที่เรียบง่ายและมีความซับซ้อน และที่สำคัญไม่ใช่ทุกคนสามารถสร้างคุณค่าทั้งให้กับลูกค้าได้ ดังนั้นจึงต้องแบ่งงานกันทำตามคุณค่าที่ตัวถนัด (Outsourcing) เมื่อทุกคนมารวมตัวกันหรือบูรณาการ (Integration) กันก็จะกลายเป็นโซ่อุปทานขึ้น ในอดีตการรวมตัวในลักษณะเช่นนี้ก็มีอยู่แล้วในลักษณะที่ซื้อมาแล้วขายต่อไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย
• Supply Chain เป็นกลุ่มหรือเครือข่ายผู้สร้างคุณค่าซึ่งดำเนินการกระบวนการสร้างคุณค่า โดยมีขั้นตอนใน
การสร้างคุณค่าอยู่ 2 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Plan) และการดำเนินการ (Execution) กิจกรรมในการดำเนินการมีอยู่ 2 ประเภท คือ กิจกรรมการผลิต (Make) กิจกรรมลอจิสติกส์ (Move) สมาชิกในโซ่อุปทานจะเป็นผู้สร้างคุณค่าเหล่านี้ และเคลื่อนย้ายมารวมกันจนเป็นคุณค่าสุดท้ายที่ลูกค้าต้องการกิจกรรมลอจิสติกส์เป็นกิจกรรมภายในโซ่อุปทานที่เกิดจากการวางแผนและดำเนินการเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย(Move) ของทรัพยากร(Resources)เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โซ่อุปทานยังแบ่งออกเป็นโซ่อุปทานขององค์กรที่เริ่มจากจัดหาจนถึงจัดส่ง และโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์หรือโซ่อุปทานระหว่างองค์กรที่พิจารณานอกเหนือจากภายในองค์กร สามารถพิจารณาได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ
การสร้างคุณค่าอยู่ 2 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Plan) และการดำเนินการ (Execution) กิจกรรมในการดำเนินการมีอยู่ 2 ประเภท คือ กิจกรรมการผลิต (Make) กิจกรรมลอจิสติกส์ (Move) สมาชิกในโซ่อุปทานจะเป็นผู้สร้างคุณค่าเหล่านี้ และเคลื่อนย้ายมารวมกันจนเป็นคุณค่าสุดท้ายที่ลูกค้าต้องการกิจกรรมลอจิสติกส์เป็นกิจกรรมภายในโซ่อุปทานที่เกิดจากการวางแผนและดำเนินการเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย(Move) ของทรัพยากร(Resources)เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โซ่อุปทานยังแบ่งออกเป็นโซ่อุปทานขององค์กรที่เริ่มจากจัดหาจนถึงจัดส่ง และโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์หรือโซ่อุปทานระหว่างองค์กรที่พิจารณานอกเหนือจากภายในองค์กร สามารถพิจารณาได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ
• การจัดการโซ่อุปทาน คือ การที่กลุ่มผู้สร้างคุณค่าในโซ่อุปทานมาทำงานร่วมกัน วางแผนงานร่วมกันเพื่อให้เกิดกิจกรรมการผลิตและกิจกรรมลอจิสติกส์ที่สามารถตอบสนองต่ความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลของการจัดการโซ่อุปทานจะทำให้เกิดเป็นแผนการดำเนินงานในโซ่อุปทานในด้านแผนการ
ผลิตและแผนลอจิสติกส์ ซึ่งสมาชิกในโซ่อุปทานแต่ละคนที่มีหน้าที่ต่างๆในกิจกรรมการผลิตและลอจิสติกส์
(เคลื่อนย้าย)จะนำแผนโซ่อุปทานมาเป็นแผนหลักในการจัดการ แผนการจัดหา แผนการผลิต แผนการจัดเก็บ แผนการจัดส่ง แผนการขาย เมื่อทุกคนในโซ่อุปทานองค์กรมีแผนเดียวกัน การดำเนินงานภายในองค์กรก็น่าจะสอดคล้องกัน และถ้าในโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์หรือโซ่อุปทานระหว่างองค์กรมีแผนโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์เดียวกันก็ย่อมสามารถทำให้สมาชิกของโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์หรือโซ่อุปทานระหว่างองค์กรซึ่งก็ คือ บริษัทแต่ละบริษัทสามารถวางแผนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันทุกบริษัทในโซ่อุปทาน
ผลิตและแผนลอจิสติกส์ ซึ่งสมาชิกในโซ่อุปทานแต่ละคนที่มีหน้าที่ต่างๆในกิจกรรมการผลิตและลอจิสติกส์
(เคลื่อนย้าย)จะนำแผนโซ่อุปทานมาเป็นแผนหลักในการจัดการ แผนการจัดหา แผนการผลิต แผนการจัดเก็บ แผนการจัดส่ง แผนการขาย เมื่อทุกคนในโซ่อุปทานองค์กรมีแผนเดียวกัน การดำเนินงานภายในองค์กรก็น่าจะสอดคล้องกัน และถ้าในโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์หรือโซ่อุปทานระหว่างองค์กรมีแผนโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์เดียวกันก็ย่อมสามารถทำให้สมาชิกของโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์หรือโซ่อุปทานระหว่างองค์กรซึ่งก็ คือ บริษัทแต่ละบริษัทสามารถวางแผนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันทุกบริษัทในโซ่อุปทาน